คอลัมน์ เหล็กใน
นายอภิสิทธิ์เปรยเรื่องนี้เมื่อครั้งประกาศขึ้นเงินเดือนราชการ และเงินเดือนครู
แนว คิดเหมือน (จะ) ดี แต่กลายเป็นสร้างความปั่นป่วนให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง รวมไปถึงคนกลางอย่างคณะกรรมการเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)
กกร.ต้องรีบแถลงว่าไม่ได้เห็นชอบกับการประกาศของนายกฯ เพราะมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง
และ แนะว่ารัฐไม่ควรแทรกแซง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคณะค่าจ้างกลาง (ไตรภาคี) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งมีหน้าที่ตามกฎหมายในการพิจารณาค่าแรง
นอกจากนี้ ที่ผ่านมาค่าแรงของแรงงานไร้ฝีมือจะไม่เท่ากันทั่วประเทศ โดยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จะได้สูงสุด คือ 206 บาท/วัน และลดหลั่นกันไปตามพื้นที่ต่างๆ
ต่ำสุดที่พิจิตร, พะเยา, แพร่ และแม่ฮ่องสอน อยู่ที่วันละ 151 บาท
นึกภาพง่ายๆ ว่าจังหวัดที่มีรายได้ขั้นต่ำ 151 บาท/ วัน/คน แต่ต้องปรับขึ้นถึงเกือบๆ 100 บาท/วัน/คน มันจะเป็นอย่างไร!?
ไม่ใช่เพียงการปรับค่าแรงขั้นต่ำเท่านั้น หากแต่ต้องปรับค่าแรงแรงงานมีฝีมือหนีขึ้นไปอีกเป็นทอดๆ
นี่ยังไม่นับสินค้าและบริการต่างๆ ต้องปรับราคาขึ้น เพราะต้นทุนที่เพิ่มอย่างมหาศาลนั่นเอง
เห็น ภาพชัดเจนที่สุดต้องนายสมมาต ขุนเศษฐ เลขา ธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ฟันธงว่าหากปรับขึ้นค่าแรงเท่าที่นายอภิสิทธิ์ ต้องการ
สิ่งที่จะตามมาคือการล่มสลายของภาคอุตสาหกรรม และปัญหาคนตกงาน!!
แน่นอนว่าการให้แรงงานมีรายได้มากขึ้นย่อมเป็น การดี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและอื่นๆ
แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเหมาะสม และไม่ส่งผลกระทบในทางลบด้วย
กู รูด้านการเมืองเชื่อว่าที่นายอภิสิทธิ์ ประกาศไปเช่นนั้นเพื่อซื้อใจชนชั้นแรงงาน หรือรากหญ้าในภาคอีสาน เพราะเป็นกลุ่มคนที่ขายแรงงานมากที่สุด
บุคคลเหล่านี้เป็นฐานเสียงใหญ่สุดที่พรรคประชาธิปัตย์ ยังเจาะไม่เข้า!?
แต่ดูแนวโน้มแล้วยากที่จะเป็นไปได้ เพราะที่ผ่านๆ มาการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะเป็นเลขแค่หลักเดียว เท่านั้น
แม้แต่ตัวแทนลูกจ้าง ซึ่งต้องการค่าจ้างสูงสุดยังไม่กล้าเสนอขอปรับเยอะขนาดนี้เลย
เพราะรู้ดีถึงสิ่งที่จะตามมาหากมีการปรับค่าแรงมากเกินไป
สุดท้ายแล้วเชื่อว่าค่าแรงขั้นต่ำ 250 บาท เท่ากันทั่วประเทศ เป็นเพียงการ 'ขายฝัน' ของนายอภิสิทธิ์เท่านั้น!?