ที่มา มติชน
ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์ และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ จัดงาน "80 ปี จิตร ภูมิศักดิ์ (2473-2553)" ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 30 ตุลาคมที่ผ่านมา โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ในฐานะประธานมูลนิธิจิตร ภูมิศักดิ์ และกองทุนจิตร ภูมิศักดิ์ ได้ให้เกียรติกล่าวปาฐกถานำ
"ใน ฐานะของ"ผู้คนใฝ่ฝันอยากเรียน" ที่ได้ร่วมการ "ขุดค้น-สร้างสรรค์-จด-และ-จำ" และล่าสุดคือผลักดันให้เกิดทั้ง "อนุสรณ์สถานจิตร ภูมิศักดิ์" หรือรูปปั้นของมหาบุรุษที่ "เขาตายในชายป่า" ณ บ้านหนองกุง จังหวัดสกลนคร ข้าพเจ้าก็มีความวิตกกังวล เหมือนกับที่เคยมีส่วนร่วมในความผิดพลาดในการกระทำสิ่งเดียวกันนี้ให้กับ ฯพณฯ ปรีดี พนมยงค์ เมื่อปี 2526
นั่นคือการทำให้ท่านปรีดีกลายเป็น "รูปปั้น" ที่ "นั่งนิ่งๆ" ไร้พลัง อยู่ที่ริม "เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์" และนี่ก็คือปัญหาด้านงานศิลปะ ปัญหาด้านงานประติมากรรมของประเทศเราที่ขาดพลัง ขาดชีวิต และขาดความเคลื่อนไหว ไม่สามารถจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นต่อไปได้
แต่ข้าพเจ้าก็ยังพออุ่นใจว่า ที่ได้รับคำปลอบประโลมจากมิตรต่างชาติผู้หนึ่งที่บอกว่า "ความสำคัญของจิตร หาใช่ว่าเขาตายที่ไหน หรืออนุสาวรีย์ของเขาจะเป็นอย่างไร แต่อยู่ที่ความเป็นนักคิด-นักเขียน หรือพูดให้ชัดก็คือ "หนังสือ" ของเขานั้น คือมรดกที่แท้จริง ที่จิตร ภูมิศักดิ์ ทิ้งไว้ให้กับคนไทย และ "สยามประเทศไทย"
และเมื่อ ข้าพเจ้าเริ่มเสาะแสวงหาต่อ ก็ได้คำตอบจากมิตรต่างวัยว่า "เป็นการยากที่จะระบุว่า จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เขียนหนังสือออกมากี่เล่ม บทความกี่ชิ้น บทกวีกี่บท หรือแต่งเพลงจำนวนเท่าไหร่ เพราะงานของจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เกิด "ภายใต้วันคืนอันอัปลักษณ์" โดยเฉพาะการถูกคุมขังในคุกลาดยาว ภายใต้ "เผด็จการระบอบทหารสฤษดิ์-ถนอม"
จิตร ซึ่งต้องถูกกระทำ ให้ต้องเปลี่ยนชื่อจาก "สมจิตร" ดังเช่น "นางพิม" เปลี่ยนเป็น "นางวันทอง" "สมบูรณ์" เปลี่ยนเป็น "ชาติชาย" หรือเหมือนกับที่ "สยาม" ต้องถูกจับเปลี่ยนเป็น "ไทย" "พระสยามเทวาธิราช" เปลี่ยนเป็น "พระไทยเทวาธิราช" ชั่วคราว และ "แม่น้ำของ" ถูกเปลี่ยนเป็น "แม่น้ำโขง"นั้น ได้ผลิตผลงานออกมาเป็นจำนวนมาก หลายชิ้นเพิ่งพิสูจน์ว่าเป็นผลงานของจิตร หลายชิ้นที่ยังไม่ทราบแน่ชัด ขณะที่อีกหลายชิ้นรอการตีพิมพ์
หลัง "14 ตุลาฯ 2516" คงทราบดีว่า ได้เกิดกระแสของความเปลี่ยนแปลงทางภูมิปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มสาว ในหมู่ของนักเรียน-นิสิต-นักศึกษา ที่เราอาจเรียกให้เป็นบวกว่าเป็น "ปัญญาชน-คนรุ่นใหม่-ซ้ายใหม่-ความคิดก้าวหน้า" หรือให้ "เป็นลบ" ว่า "เอียงซ้าย-หัวรุนแรง-เด็กหัวแดง-คอมมิวนิสต์-หนักแผ่นดิน"ที่ มาพร้อมๆกับ ความเปลี่ยนแปลงในระดับสากลของยุค 60-70 ซึ่งนักสังเกตการณ์ "สังคมสยามประเทศไทย" ท่านหนึ่งตั้งข้อสังเกตว่า นี่เป็นปรากฏการณ์ที่กลับตาลปัตร แทนที่เราจะเชื่อว่า "ดวงอาทิตย์หมุนรอบโลก" กลับกลายเป็น "โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์"
ไม่มี ครั้งใดที่คนหนุ่มสาวของเรา จะมองวีรชน ที่ไม่่ใช่บุคคลที่ประสบความสำเร็จประเภท "วีรบุรุษ-วีรสตรี" ที่เป็นบุคคล หรือเจ้านายที่รัฐให้การยกย่องเชิดชูบูชา แต่วีรชน"ใหม่" ของ "คนหนุ่มสาวรุ่นใหม่" นี้ กลับกลายเป็นบุคคลที่เป็นผู้แพ้ เป็นผู้ประสบเคราะห์กรรม พลัดพราก ถูกทำลายชีวิต เป็นสามัญชน และที่สำคัญคือ ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐ จากแบบเรียนกระทรวงศึกษาฯ หรือจากสื่อมวลชนกระแสหลัก และหลายต่อหลาย "วีรชนใหม่"นี้ ถ้าไม่ถูกทำให้ลืม ก็ "โนเนม" หรือ "ไร้ชื่อ ไร้เสียง" อย่างเช่นกรณีของปรีดี พนมยงค์ กุหลาบ สายประดิษฐ์ นายผี-เสนีย์ เสาวพงศ์ และจิตร ภูมิศักดิ์ และยุค 60 และ 70 นี่เอง ที่เป็นยุคสมัยของการ "ขุด-แต่ง-ฟื้นฟู-บูรณะ-จด-และจำ" วีรชน "นอกคอก-นอกกรอบ-นอกทะเบียน" เหล่านี้
ในบริบทและบรรยากาศเช่นนี้ จิตร ภูมิศักดิ์ ที่ดูเสมือน "ตายอย่างไร้ค่า แต่ต่อมาก้องนาม ผู้คนไถ่ถามอยากเรียน" ที่ทำให้เกิดงานคิด งานเขียนของเขา ถูกขุด ถูกค้น ขึ้นมาโดย "เยาวชนคนหนุ่มสาวรุ่นใหม่ จนกล่าวได้ว่า จิตรได้ถือกำเนิดใหม่เป็นครั้งที่สอง
หลัง 6 ตุลาฯ 2516 เพียง 2-3 ปี มีผลงานของจิตร ถูกตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก อาทิ กวีการเมือง (2517) บทวิพากษ์ว่าด้วยศิลปวัฒนธรรม (2517) นิราศหนองคาย วรรณคดีที่ถูกสั่งเผา (2518) งานแปล เช่น ความเรียงว่าด้วยศาสนา (2519) คาร์ล มากซ์ ประวัติย่อ (2518) ด้วยเลือดและชีวิต : รวมเรื่องสั้นเวียดนาม (2518)
และจำได้ว่าที่แผงหนังสือที่ท่าพระจันทร์นั้น วันหนึ่งข้าพเจ้าเห็นหนังสือหน้าปกแปลกๆ และชื่อเรื่องประหลาดๆ ที่ทำให้ข้าพเจ้าแม้จะจบปริญญาเอก เขียนงานวิืทยานิพนธ์ทางประวัติศาสตร์อยุธยามาแล้ว ต้องควักเงินซื้อมาในทันที หนังสือเล่มนั้นก็คือ "โฉมหน้าศักดินาไทย" ที่เคยตีพิมพ์มาแล้วในรูปของบทความในหนังสือ "นิติศาสตร์ฉบับรับศตวรรษใหม่" งานเล่มนี้ของเขา แม้จะได้รับการโต้-แย้ง-ปฏิเสธ ในแง่ของทฤษฎีมาร์กซิสม์ อย่างรุนแรงจากนักรัฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ "กระแสหลัก" แต่ก็สร้างความสั่นสะเทือนให้กับ "ภูมิปัญญา" และแนวจิดเดิมๆของสยามประเทศไทย อย่างไม่เคยมีมาก่อน
ในขณะเดียวกัน งานหนังสือวิชาการที่หนักแน่นและรัดกุมมากว่า คือ "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ" ที่ถูก "ฝาก-ฝัง" และเก็บรักษาต้นฉบับไว้เป็นอย่างดีก็เริ่มปรากฏสู่บรรณพิภพหลังจากที่จิตร เสียชีวิตแล้วถึง 10 ปี
หนังสือเล่มนี้ น่าจะเป็นเล่มท้ายๆที่ตีพิมพ์ออกมาได้ก่อนเหตุการณ์"วันมหาวิปโยค 6 ตุลา 2519" ที่สังคมสยามประเทศไทย ไม่เพียงแต่เห็น "อาชญากรรมโดยรัฐ" ใช้กำลังอาวุธทหารและตำรวจ ประหัดประหารประชาชน กลางกรุงเทพมหานครอีกหนึ่งครั้ง ก็ได้เห็นการ"ยึด-ทำลาย-เผา-คำสั่งห้าม" ทั้ง "หนังสือ-การอ่าน-ความคิด-การเขียน" และเราต้องไม่ลืมว่าสมัยนั้น ยังไม่มีโทรศัพท์มือถือ-ไอโฟน ไม่มีอีเมล์ อินเตอร์เน็ต ไม่มีเฟซบุค ทวิตเตอร์
ความพยายามในครั้งนั้น ที่จะฟื้นฟู "ระบอบทหาร" และ "การปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" นั้น แม้จะยับยั้ง "กระบวนการประชาธิปไตย" ได้ชั่วครั้งชั่วคราว แต่เพียงไม่กีปี ก็ไม่สามารถสกัดกั้น "ผู้คนที่ไถ่ถามอยากเรียน"ได้ ดังนั้นผลงานที่ออกมาตามกันก็มีเช่น "โองการแช่งน้ำ และข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา" หรือ "ตำนานแห่งนครวัด" หรือ "สังคมไทยลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนสมัยกรุงศรีอยุธยา"
อาจกล่าว ได้ว่าความพยายามของ "ผู้คนที่ใฝ่ฝันอยากเรียน" ที่มาจากหลายฝ่าย หลายกลุ่ม ที่ต่างวัย ต่างประสบการณ์ ด้วยกันนั้น ทำให้จิตร ภูมิศักดิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่วาระการครบรอบ 72 ปี เมื่อปี 2545 นั้น ได้ทำให้ความเป็น นักคิด-นักเขียน ของเขา ดูจะยิ่งหนักและแน่นยิ่งขึ้น ถึงกับมีการกล่าวว่า จิตร "เกิดเป็นครั้งที่ 3"
และ "งานสังคมสยามประเทศไทย" ที่จิตรใฝ่ฝัน และกระทำมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์แล้ว ทั้งจับปากกาและปืน เพื่อสร้างสังคมใหม่ที่ดีกว่า ที่เป็น "ประชาธิปไตย" ที่เต็มไปด้วย "ภราดรภาพ-เสมอภาค-เสรีภาพ" นั้นยังไม่จบ และจำเป็นต้องดำเนินไปด้วยคนรุ่นใหม่ ที่จะตามติดกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่า และนี่ก็เป็นสัจธรรมของทุกสังคม"
ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง
ข่าวจากสื่อ
- เครือข่ายประชาธิปไตยแห่ผูกผ้าดำหน้าศาลรธน. จี้ทบทวนมติ
- นายกฯ เปิดงาน"เทศกาลเที่ยวเมืองไทยในปี 2555"
- "ศันสนีย์"โฆษกรัฐบาลคนใหม่เผยพร้อมประชาสัมพันธ์งาน รบ.เชิงรุก
- ชี้ทางออก"ปรองเดือด"สู่"ปรองดอง"
- เสื้อแดงแจ้งธาริตเอาผิดมาร์ค-สุเทพฐานสร้างความปั่นป่วน
- ห่วงบานปลาย คอป.ห้ามทัพ พท.-ศาลรธน.
- นปช.นัดชุมนุมขับไล่ศาล รธน. พร้อมล่ารายชื่อถอดถอนใน 2 สัปดาห์
- "พานทองแท้" สอนมวย "มาร์ค"-จี้ขอโทษประชาชน ฐานปล่อยส.ส.โชว์เถื่อนในสภา
- ใช้ปมแก้รธน. ยุบเพื่อไทย ดูดสส.ตั้งรบ.
- "สมศักดิ์ เจียมฯ" เสนอรบ.-สภา "ชน" ศาลรธน. จี้พท.-นปช.ทบทวนยุทธศาสตร์การเมืองทั้งหมด
- นิติราษฎร์" แถลงชี้-ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจชะลอการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- นิติราษฎร์แถลงชี้คำสั่งศาลรธน.ชะลอแก้รธน. 'ไร้อำนาจ'
- งามแต้ๆ เจ้า! "นายกฯ ปู" แต่งชุดพื้นเมือง-ผ้าซิ่นสีชมพูแอ่วเมืองพะเยา ปชช.แห่ต้อนรับเพียบ (ชมภาพชุด)
- กกต.เชียงใหม่เตรียมรับรองผลเลือกตั้งส.ส.ใน 7 วัน-"เกษม" ขอบคุณปชช.
- "จาตุรนต์"ปลุกกระแสต้าน"รัฐประหาร" ชี้ปม"ศาลรัฐธรรมนูญ"สั่งสภาฯระงับพิจารณาร่างรธน.
- “จาตุรนต์” ชี้ อำนาจประชาชนถูกปล้น- “ชนชั้นนำ” ไม่อยากปรองดอง - คาดเกิด “ยุบพรรค” อีกรอบ
- "ปู"ทำบุญเปิดหอฉันวัดเชียงบาน ชาวพะเยากว่า2,000คนต้อนรับแน่น
- อาจารย์เกษียร เสียดาย "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" คิดได้แค่นี้หรือ..!?!
- ขึ้นป้ายไล่"หมอวรงค์"ทำคนพิษณุโลกอับอาย
- โลกออนไลน์ เบื่อหน่ายพฤติกรรม ส.ส. ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภา
- "เรืองไกร" ฉวย! ยื่นผู้ตรวจการแผ่นดินสอบ "ณัฎฐ์" ดูคลิปหวิวในสภา อ้างนำความเสื่อมเสียมาสู่สภาฯ
- แกนนำนปช...."อย่าเป็นวัวลืมตีน"
- ข่าว"เหตุเกิดในมาเลเซีย" ข่าว"เมด อิน ไทยแลนด์" ข่าวกระพือ"ไฟใต้"
- "ณัฐวุฒิ" สวน "กรณ์" ขวางปรองดอง-ไม่ทวงข้อเท็จจริง "10เมษา" ตั้งแต่ยุค "รบ.อภิสิทธิ์"(ชมคลิป)
- เสียงก้องจาก 2 กูรู "ตุลาการ" ไม่มีอคติ ไม่มีล็อบบี้ ไม่มีใบสั่ง
- "ทักษิณ"เข้าสักการะพระธาตุหลวง-เผยซึ้งใจได้ทำบุญ แกนนำแดง อดีต ส.ส. แห่รับพรึบ (ชมคลิป)
- "จตุพร" ท้าตั้ง คตส.ตรวจสอบการทำงาน "มาร์ค-ชวน" เหมือนกับที่ทำกับ "ทักษิณ" ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
- "หาดใหญ่"อ่วมซ้ำ ไฟไหม้โรงงานเฟอร์นิเจอร์กลางเมืองวอดเรียบ!
- "ทักษิณ"ทำบุญสีบชะตาที่ลาว ลั่นไม่นานเกินรอกลับไทย ขบวนแดงแห่ร่วมคึก
- “แม้ว” ทำบุญในลาวแฟนคลับเสื้อแดงแห่รับเพียบ
บทความจากสื่อ
- ประชาธิปัตย์...เปลี่ยนเถอะ !โดย ฐากูร บุนปาน
- กฤษฎีกาชี้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งชะลอลงมติร่าง รธน.วาระ 3 ไม่เคยเกิดขึ้นในโลก บอกไร้ช่องทางต่อสู้
- เกม"แก้ รธน.291" สภาชน"ศาลรัฐธรรมนูญ" เกมค่ายกล′ยุบพรรค′?
- ปัญหา"มาตรา68" สกัด"ร่างแก้ไขรธน. แหลมคมจาก"นิติราษฎร์"
- งามหน้าสภาไทย ! เมื่อท่านประธานฯ ถูกจี้คาบัลลังก์
- แกะกล่อง "หัวใจสองสี" ขัตติยา สวัสดิผล
- "ทักษิณ-เพื่อไทย"ปรับแผน เปลี่ยน"รูปมวย"...รู้จัก"รอ" ย้ำภาพ"ฝ่ายมีเปรียบ"
- ฐากูร บุนปาน : เจรจา-ผิดตรงไหน?
- พระราชทานเครื่องราชฯ 'มหาปรมาภรณ์' แก่นายกฯ
- ซ่อนหลัง"หน้ากาก"
- ดร.โกร่ง คนเดินตรอก : การบริหารจัดการมหเศรษฐกิจ
- ยอดคลิกทะลุ! รวมข่าวที่มีคนอ่านมากที่สุดใน "มติชนออนไลน์" ประจำวันที่ 6เม.ย.2555
- วิเคราะห์ปัญหา-ค้นคว้าทางออกของเหตุความรุนแรงภาคใต้กับ "ชัยวัฒน์-รอมฎอน"
- ปฏิบัติการ "ป๋า" ภาค 2 สู้ "นารีพิฆาต" กับปากคำ "บิ๊กบัง" เรื่อง "ป๋า" และการเมืองแสนซับซ้อน ในมุม "ประยุทธ์"
- กลุ่มสตรีมองปมร้อน'โฟร์ซีซั่นส์'
- ดูกันชัดๆ บทบาทฝ่ายค้าน เล่นของ ว. 5 ปักทิ่ม ยิ่งลักษณ์ เอาให้ตาย!!
- ต่อสู้ 2 แนวทาง เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ กรณี โฟร์ซีซั่นส์
- นิวัฒน์ธำรง-ลงธรรมาสน์ ธุดงค์ในทำเนียบ เผยแพร่ลัทธิเพื่อไทย กางสูตรรัฐบาล + พล.อ.เปรม = การเมืองนิ่ง
- ยกร่าง′รัฐธรรมนูญ′ และความห่วงใย ล็อกสเปก′สภาร่างฯ′
- "กุนซือ" คิด "ปคอป." พูด ข้อมูล-คีย์เวิร์ด "เยียวยา"