ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 5 October 2010

เปิดบันทึกถ้อยคำ"ธาริต" พยานคดียุบ ปชป. พิรุธ"ทวี สอดส่อง" วางแผนสร้างเรื่อง-ตั้งวอร์รูมช่วย นปช.

ที่มา มติชน



บันทึก ถ้อยคำ "ธาริต เพ็งดิษฐ์" พยานคดียุบพรรค ฝ่าย ปชป. งัดพิรุธคำสั่งการของ "ทวี สอดส่อง" พร้อมระบุเป็นการวางแผน สร้างเรื่องให้เกิดคดียุบพรรค ดิสเครดิตซ้ำอดีตบิ๊กดีเอสไอดอดตั้งวอร์รูมช่วย นปช.ที่พรรคเพื่อไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 4 ตุลาคมถึงความคืบหน้าในการพิจารณาคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ยื่นคำ ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์กรณีการใช้เงินจากกองทุนเพื่อ พัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทผิดวัตถุประสงค์ว่า ว่า บันทึกถ้อยคำของนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) จำนวน 5 หน้ากระดาษ ที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ระบุความว่าเมื่อตนเข้ารับตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอได้ 3 เดือน ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ของดีเอสไอกลุ่มหนึ่งกลั่นแกล้ง สร้างเรื่อง และสร้างพยานเท็จเกี่ยวกับการเสนอยุบพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และคดีเกี่ยวกับบริษัท ทีพีไอ โพลีน จำกัด(มหาชน) จึงได้ตรวจสอบพบข้อเท็จจริงพบว่า เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2551 ส.ต.อ.ทชภณ พรหมจันทร์ ได้ทำหนังสือร้องทุกข์ต่อพ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีดีเอสไอในขณะนั้น

โดยมีสาระสำคัญว่า ปชป.กระทำทุจริตรับเงินจากนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และขอให้ดำเนินคดีกับปชป. ทั้งนี้พ.ต.อ.ทวี ย่อมทราบดีว่า เรื่องที่ร้องเรียนไม่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของดีเอสไอ พ.ต.อ.ทวีจะต้องสั่งไม่รับดำเนินการโดยแจ้งให้ผู้ร้องรับทราบหรืออาจให้ส่ง เรื่องไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เป็นข้อมูล เพราะเรื่องนี้เป็นความผิดเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยพรรคการเมืองแต่พ.ต.อ.ทวี กลับมอบให้พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ขณะนั้นดำรงตำแหน่งผบ.สำนักกิจการระหว่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่าง ประเทศ เป็นหัวหน้าคดีตรวจสอบ

บันทึกถ้อยคำระบุด้วยว่า การสั่งการดังกล่าวพ.ต.อ.ทวี จึงไม่ถูกต้อง เพราะเรื่องนี้ไม่เป็นคดีพิเศษตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษและไม่มีการร้องขอ ให้มีมติรับเป็นคดีพิเศษ จึงรับไว้ดำเนินการไม่ได้ นอกจากนี้การสั่งการดังกล่าวเป็นพิรุธมาก เพราะมีการสั่งการมายังตน ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งรองอธิบดีดีเอสไอ โดยสั่งให้จ่ายเรื่องให้กับพ.ต.อ.สุชาติ จึงเป็นการบังคับให้ตนต้องจ่ายเรื่องให้พ.ต.อ.สุชาติ เท่านั้น โดยไม่สามารถใช้ดุลยพินิจจ่ายคดีไปให้บุคคลอื่นที่เหมาะสมได้ ทั้งที่เรื่องดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานของสำนักกิจการระหว่าง ประเทศฯ การสั่งเจาะจงเช่นนี้เพราะต้องการให้พ.ต.อ.สุชาติเป็นผู้รับทำเรื่องนี้เท่า นั้น

ต่อมาวันที่ 24 มิ.ย. 2551 พ.ต.อ.ทวี มีคำสั่งที่ 217/2551 แต่งตั้งพ.ต.อ.สุชาติ เป็นหัวหน้าคณะตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเหตุผลในการออกคำสั่งอ้างว่าเป็นความผิดตามมาตรา 21 วรรค 1 ซึ่งไม่ถูกต้องไม่ตรงกับเรื่องที่ส.ต.อ.ทชภณ ร้องทุกข์ แต่เป็นการออกคำสั่งเพราะเกรงว่าคำสั่งจะไม่ชอบ หลังจากมีการออกคำสั่งแล้วแม้จะระบุให้ตนกำกับดูแล แต่ในความเป็นจริงคณะตรวจสอบชุดที่พ.ต.อ.สุชาติ เป็นหัวหน้าไม่เคยรายงานหรือหารือใด ๆ กับตนแม้แต่ครั้งเดียว แต่จะรายงานตรงกับพ.ต.อ.ทวี เท่านั้น

ต่อมาเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2551 พ.ต.อ.ทวี ได้นำเรื่องนี้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) โดยกล่าวอ้างว่าเป็นคดีความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยไม่มีการพูดถึงความผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง การนำเสนอข้อเท็จจริงต่อที่ประชุมจึงเป็นการบิดเบือนรูปคดีให้กลายเป็น เรื่องความผิดตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ และเป็นการลวงให้กคพ. สำคัญผิดจนที่ประชุมมีมติเห็นชอบ หากที่ประชุมรู้ความจริงตามที่ส.ต.อ.ทชภณ ร้องทุกข์จะไม่มีมติเห็นชอบแน่นอน เพราะไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของดีเอสไอ

อย่างไรก็ตาม เมื่อที่กคพ.มีมติเห็นชอบย่อมผูกพันให้ดีเอสไอต้องดำเนินการเฉพาะความผิด ตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เท่านั้น ไม่มีอำนาจไปดำเนินคดีตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง ทั้งนี้ ภายหลังการประชุม กคพ. ตนได้ทำเรื่องเสนอ ต่อพ.ต.อ.ทวี เพื่อขอให้พ.ต.อ.ทวี สั่งมอบหมายคดีที่ผ่านความเห็นชอบจาก กคพ. ซึ่งจะเห็นข้อพิรุธได้ว่าในทุก ๆ เรื่องพ.ต.อ.ทวี จะเขียนด้วยลายมือ โดยเรื่องใดมอบหมายให้รองอธิบดีจะเขียนว่ารองฯสพ. 1 หรือรองฯสพ. 2 ซึ่งหมายความว่ารองอธิบดีฯจะใช้ดุลยพินิจมอบหมายนั่นเอง แต่พอมาถึงเรื่องที่ 6 คือคดีนี้พ.ต.อ.ทวี กลับเขียนว่ารองฯ สพ. 1 มอบ ผบ.สตท.ซึ่งคือพ.ต.อ.สุชาติ จึงเป็นการเจาะจงล็อคกันไว้ รองอธิบดีไม่มีสิทธิใช้ดุลยพินิจเหมือนเรื่องอื่น

บันทึกถ้อยคำระบุอีกว่า การที่พ.ต.อ.สุชาติอ้างว่าการสอบสวนในส่วนที่เกี่ยวกับคดีพรรคการเมืองเป็น เรื่องที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันกับพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ เป็นข้ออ้างที่ผิดเพราะการเกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันต้องตีความอย่างแคบตามหลัก การในกฎหมายอาญา โดยเฉพาะต้องไม่ใช่คดีความผิดที่อยู่ในอำนาจขององค์กรอื่น ดังนั้น พ.ต.อ.สุชาติ และคณะเจาะจงเข้าทำคดีนี้ทั้งที่ไม่มีอำนาจหน้าที่ มีเจตนาแอบแฝงไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ

ต่อมาเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2551 พ.ต.อ.ทวี ออกคำสั่งที่ 528/2551 ยกเลิกคำสั่งที่ 371/2551 แล้วแต่งตั้งพ.ต.ท.วรชัย อารักษ์รัฐ เป็นหัวหน้าพนักงานสอบสวน โดยมอบรองอธิบดีคือพ.ต.อ.สุชาติ ให้กำกับดูแล จึงเป็นความจงใจของพ.ต.อ.ทวี ที่ต้องการให้พ.ต.อ.สุชาติ ดำเนินการเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยไม่ให้มีการกำกับควบคุมจากรองอธิบดี การกระทำของพ.ต.อ.ทวี พ.ต.อ.สุชาติ และพ.ต.ท.วรชัย จึง เป็นการร่วมกับวางแผนอย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยอำนาจหน้าที่ของการเป็นหน่วยงานด้านการสอบสวนถักทอ บิดเบือน และสร้างเรื่องมุ่งหมายดำเนินคดีนี้ ทั้งที่ไม่ใช่คดีที่อยู่ในอำนาจของดีเอสไอ

แต่ตกแต่งเรื่องจน กคพ.ผิดหลงมีมติเห็นชอบให้สอบสวน และอาศัยช่องทางจากมติกคพ. สอบสวนความผิดตามพ.ร.บ.พรรคการเมือง โดยไม่ทำคดีตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ให้แล้วเสร็จ

หลังจากตนเข้ารับตำแหน่งอธิบดีดีเอสไอระยะหนึ่งพ.ต.ท.วรชัยกับคณะได้ขอลา ออกจากการเป็นพนักงานสอบสวน ตนจึงแต่งตั้งพ.ต.อ.ณรัชต์ เศวตนันทน์ รองอธิบดี จนสอบสวนแล้วเสร็จและมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องตามความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ

ต่อมาตนได้ทราบเรื่องว่าพ.ต.อ.สุชาติ มาเบิกความต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยนำเทปบันทึกเสียงมามอบให้ศาลจึงได้ตรวจสอบในสำนวนคดีแต่ไม่พบเทปบันทึกเสียงเก็บรวบรวมไว้ในบันทึกการสอบสวน

การกระทำของพ.ต.อ.สุชาติจึงไม่ถูกต้องตามหลัก ปฏิบัติของพนักงานสอบสวนซึ่งจะต้องรวบรวมพยานหลักฐานไว้ในสำนวนจะนำไปเก็บ ไว้เป็นการส่วนตัวไม่ได้

นอกจากนี้ตนยังได้รับทราบข้อมูลที่น่า เชื่อถือได้ว่าพ.ต.อ.ทวี และพ.ต.อ.สุชาติได้เข้าไปแนะนำในด้านการปฏิบัติการณ์และข้อชี้แนะต่าง ๆ ในลักษณะวอร์รูมที่ทำการของ นปช.และพรรคเพื่อไทยในช่วงเหตุการณ์ใน ช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบเดือนเม.ย.-พ.ค. 2553 อย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากพ.ต.อ.ทวี และพ.ต.อ.สุชาติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิบดีและรองอธิบดีในสมัยพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลและ เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าบุคคลทั้งสองมีความใกล้ชิดกับอย่างมากกับบุคคลที่ เป็นแกนนำหลักระดับสูงของพรรคเพื่อไทยมาช้านานจวบจนปัจจุบัน