ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Saturday, 25 September 2010

บทความ: ข้อสังเกตบางประการในการทำความเข้าใจ “สลิ่ม”

ที่มา Thai E-News

โดย ทัศนะ ธีรวัฒน์ภิรมย์ / ประชาไท
เผยแพร่ครั้งแรกที่ Aofdense's Blog
24 กันยายน 2553

“สลิ่มเป็นงานอาร์ท” ศ.ดร.นพ.ทพ.โน๊ต อุด้ง



(1)

สลิ่ม: พื้นที่ศักดิ์สิทธ์ทางวิชาการหรือแค่เรื่องตลกของยุคสมัย

ท่าม กลางความสับสนและความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศเทยในช่วงที่ผ่านมา พฤติกรรม (จริงๆสิ่งที่จะกล่าวต่อไปจะเรียกว่า “พฤติกรรม” ก็ดูจะไม่ตรงนัก แต่เพื่อความสะดวกในการสื่อสาร ผู้เขียนขออนุญาตใช้คำนี้ไปพลางก่อน) ที่เรียกกันอย่างลำลองทางวิชาการว่า “สลิ่ม” (Salim) ได้ก่อตัวขึ้นและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในหมู่ชนชั้นกลางของประเทศเทย(โดย เฉพาะในกลุ่มคนหนุ่มสาว) มีการถกเถียงกันในวงวิชาการอย่างมากมายและกว้างขวางต่อปรากฏการณ์ที่เกิด ขึ้น บ้างก็ว่ามันเป็นอาการของโรค (disease) บ้างก็ว่าเป็นความผิดปกติทางจิต (psychological disorder) บางส่วนบอกว่าเป็นอุปทานรวมหมู่(mass hysteria) บางคนถึงกับบอกว่า “สลิ่ม” เป็นเพียงวาทกรรม(ในความหมายแบบไทยๆ)ที่เอาไว้ discredit ฝ่ายที่คิดเห็นไม่ตรงกับพวกตน

อย่างไรก็ดีแม่จะมีวิวาทะทางวิชาการ มากมายในประเด็นดังกล่าว แต่ด้วยความลักลั่นย้อนแย้ง (paradox) ความลื่นไหล ความไม่เสถียร (stable) ของพฤติกรรม “สลิ่ม” ทำให้ข้อถกเสียงเหล่านั้นไม่สามารถให้ข้อสรุปถึงนิยาม (definition) ของคำว่า “สลิ่ม” ที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ซึ่งสร้างปัญหาให้กับสังคมในการใช้คำว่า “สลิ่ม” มาก เพราะความหมาย (meaning) และสัญญะ (sign) ของมันขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ใช้เป็นหลัก ทำให้ผู้ที่ถูกเรียกว่า “พวกสลิ่ม” ไม่อินังขังขอบหรือเดือดเนื้อร้อนใจเมื่อถูกเรียกแบบนั้น ทั้งที่อันที่จริงแล้วคำนี้มีความหมายในเชิงประชดประชันเสียดสีอยู่มาก

จาก การทบทวนวรรณกรรมที่ผ่านมา ผู้เขียนพบว่าการศึกษาปรากฏการณ์ “สลิ่ม” เป็นไปอย่างไร้ทิศทางและกระจัดกระจาย มีการใช้กรอบวิเคราะห์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในทาง สังคมศาสตร์, รัฐศาสตร์, ปรัชญา, เศรษฐศาสตร์, หรือแม้แต่การวิเคราะห์ด้วยความตั้มฟิสิกส์ ซึ่งความหลากหลายในแนวทางการศึกษาเช่นนี้ แม้จะทำให้เราค้นพบแง่มุมใหม่ๆของคำว่า “สลิ่ม” แต่ก็ไม่สามารถให้ความหมายที่เป็นจุดร่วมของคำๆนี้ได้ ส่งผลให้ “สลิ่ม” กลายเป็นคำที่มีลักษณะนามธรรม (abstract) ลึกลับ (mysterious) หรือแม้กระทั่งดูศักดิ์สิทธิ์ (divine) กว่าที่คนธรรมดาทั่วไปจะเข้าถึงได้

บท ความนี้ผู้เขียนไม่มีเจตนาที่จะเสนอข้อสรุปหรือทฤษฎีที่ชี้ขาดว่า “สลิ่ม” คืออะไรกันแน่ เพียงแต่ต้องการที่จะทบทวน วิเคราะห์ เพื่อสังเคราะห์เป็นข้อสังเกตเบื้องต้นของพฤติกรรมที่เรียกว่า “สลิ่ม” ผู้เขียนพยามยามจะรวบรวมจุดร่วมของพฤติกรรมดังกล่าวที่เห็นได้อย่างชัดเจน (Obvious) ในกลุ่มคนที่ถูกเรียกว่าสลิ่มส่วนใหญ่ โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นของการวิเคราะห์ว่า “สลิ่ม” ไม่ใช่ความผิดปกติ (abnormally) เพราะกลุ่มคนที่ถูกขนานนามว่าสลิ่มนั้นสามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่าง ปกติ ไม่ได้มีความบกพร่องในการใช้ชีวิตปกติแต่อย่างใด (แต่มี “ความคิด” หรือเปล่านั้นเป็นสิ่งที่ต้องอภิปรายต่อไป) โดยผู้เขียนใช้กรอบการว่าเคราะห์ “สลิ่ม” ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมผสม (hybrid culture) ซึ่งเกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมรวมถึงอุดมคติที่หลากหลาย ทั้งวัฒนธรรมแบบชนชั้นกระฎุมภี, แนวคิดอนุรักษ์นิยมใหม่, pop culture, วัฒนธรรมแบบผู้มีการศึกษา และอาจร่วมถึงวัฒนธรรมนำเข้าอย่างกระแส k-pop

ผู้ เขียนเห็นว่าการมองสลิ่มเป็นวัฒนธรรม ทำให้เราเข้าใจถึงพฤติกรรมนี้ได้อย่างมีมิติและเป็นพลวัตรมากขึ้น เพราะกระบวนการการทำให้เป็นสลิ่ม (Salimization) ไม่ได้เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน แต่เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นมายาวนานอย่างเป็น ระบบ ซึ่งเราอาจจะสืบย้อนกลับไปได้ถึงช่วงการเข้ามาของแนวคิดสมัยใหม่ (modernism) ในรัชสมัยรัชกาลที่ห้า หรืออย่างน้อยก็สมัยที่มีการเกิดขึ้นของชนชั้นกระฎุมภีใหม่หลังการเปลี่ยน แปลงการปกครองเมื่อพุทธศักราช 2475 ซึ่งมันมีความซับซ้อนทางประวัติศาสตร์อยู่มาก (อ่าน, สมสุข 2553) อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่ากระบวนการทำให้เป็นสลิ่มชัดเจนที่สุดในทศวรรษ 2490-2500 และมีการแสดงออกมาอย่างเป็นรูปธรรมที่สุดพร้อมๆกับการมาถึงของกลุ่มที่เรียก ตัวเองว่า “กลุ่มคนเสื้อหลากสี” (multicolor anti-democracy puppets) ในช่วงเดือนมีนาคม 2553 แต่ด้วยข้อจำกัดของความยาวของบทความผู้เขียนจะไม่อภิปรายกระบวนการทำให้เป็น สลิ่มในที่นี้ แต่จะขอตั้งข้อสังเกตลักษณะร่วมบางประการของ “สลิ่ม” เท่านั้น

(2)

สลิ่ม: ลักษณะร่วมบางประการ

จาก การทบทวนวรรณกรรม การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (questionnaire) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (focus group) ผู้เขียนมีข้อสังเกตบางประการถึง “จุดร่วม” ของกลุ่มคนที่เรียกว่า “พวกสลิ่ม” ดังนี้

1. สลิ่มรักพ่อและยินดีตายเพื่อพ่อ : ข้อนี้ไม่ต้องอธิบายให้มากความ “ถ้าไม่รักพ่อก็ออกจากบ้านไป ชิ้วๆ” สลิ่มผู้ได้ชื่อว่าเป็น “ตัวพ่อ” ท่านหนึ่งกล่าวไว้อย่างภาคภูมิใจ

2. สลิ่มมีการศึกษา: จากการเก็บข้อมูลภาคสนามผู้เขียนพบว่า “พวกสลิ่ม” ส่วนใหญ่เป็นที่มีการศึกษาสูง (ส่วนใหญ่จบปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ) และเป็นผู้ที่ยึดมั่นในความรู้ที่ได้จากการศึกษาในระบบอย่างยิ่ง สลิ่มส่วนใหญ่รู้ดีว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต, ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าอยู่ที่สุดในโลก, ศิลปะวัฒนธรรมไทยมีความยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก, ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย (แบบไทยๆ), ทุนนิยมเป็นแนวคิดที่น่ารังเกียจ ,ประชาธิปไตยต้องดูกันที่เนื้อหาสาระ เป็นต้น

3. สลิ่มรักการอ่าน: ต่อคำกล่าวที่ว่า “คนไทยอ่านหนังสือปีละเจ็ดบรรทัด” เมื่อนำมาใช้อธิบายสลิ่มจะไม่สามารถใช้ได้เลย เพราะสลิ่มเป็นคนมีการศึกษา พวกเขารักในการศึกษาหาความรู้ การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่พวกเขาทำกันเป็นกิจวัตร ซึ่งสิ่งที่ยืนยันได้ดีคือการได้รับความนิยมอย่างสูงของงานสัปดาห์ลดราคา หนังสือแห่งชาติ และยอดพิมพ์ของหนังสือที่มีสาระมากมายหลายเล่ม เช่น เข็มพิษชีวิต, เดอะท๊อปบู๊ทซีเคร็ด, หนังสือของสำนักพิมพ์แจ่มใฉ, หนังสือแปลดีๆอย่างแวมไพร์ทไวไลด์, หรือแม้กระทั่งหนังสือปรัชญาชีวิตยากๆของนักเขียนผู้ทรงภูมิอย่างกา-ลาแมร์ ด้วยความที่สลิ่มเป็นผู้ที่อ่านหนังสือเยอะนี้ ทำให้สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่เชื่อคนยากเป็นอย่างยิ่ง พวกเขาจะเชื่อก็ต่อเมื่อรัฐบาล, ศอฉ., หรือผู้นำทางความคิดที่ดูดีมีความรู้บอกเท่านั้น ส่วนสื่อทางเลือกอื่นๆ เช่น CNN, Economist, บทความวิชาการต่างๆ สลิ่มรู้ดีว่าไม่ควรให้ความใส่ใจ

4. สลิ่มมีศีลธรรมจรรยา: แหล่งที่พบสลิ่มได้อย่างหนาแน่นชุกชุมคือสถานปฏิบัติธรรมที่มีบรรยากาศ สะอาด สงบ สะดวกสบาย และดูดีมีรสนิยม ในวันหยุดสลิ่มหลายกลุ่มมักใช้เวลามาปฏิบัติธรรม-ภาวนา เพื่อสร้างบารมีตามสถานที่ดังกล่าว อีกข้อสังเกตหนึ่งของผู้เขียนก็คือ สลิ่มร้อยละเก้าสิบมีหนังสือของพระสงฆ์รุ่นใหม่ที่เป็นปราชญ์แห่งยุคสมัย อย่าง ว. วชีรเมรี ที่เขียนหนังสือธรรมะเนื้อหาลึกซึ้งออกมามากมาย ยกตัวอย่างเช่น “ธรรมนำเวร”, “ธรรมะดิลิเวทีพ”, “รักอนาไลสิส” และมีคำสอนที่ลึกซึ้งผ่านเครือข่ายทางสังคมอย่างทวิตเตอร์ออกมาเป็นประจำ เช่น “ที่ใดมีชู้ที่นั่นมีช้ำ ที่ใดมีกิ๊กที่นั่นมีกรรม”, “ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน (นะจ๊ะ) เป็นต้น

5. สลิ่มมีรสนิยมดีเยี่ยม: ในเรื่องรสนิยมในการใช้ชีวิตเป็นสิ่งที่สลิ่มมีความก้าวหน้านำสมัยอย่างยิ่ง เหตุเพราะจากเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ชนชั้น สลิ่ม 98.96% เป็นผู้ที่มีอันจะกิน และมีกำลังซื้อมากพอที่จะซื้อสินค้าและบริการที่ “เทรนดี้” เพื่อตอบสนองเป้าหมายในการมีชีวิต (purpose of live) จากกลุ่มตัวอย่าง สลิ่มส่วนใหญ่มี i-phone และ BB (บางส่วนใช้(Android), นิยมซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้าที่มีระดับ, ฟังเพลงอินดี้, ดูหนังนอกกระแส, และอ่านนิตยสารเด็กแนว….( อนึ่ง ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าข้อนี้เป็น “ความเป็นสลิ่ม” หรือ “สลิ่มที่บังเอิญมีลักษณะนี้” มีบางกลุ่มที่นิยามตัวเองว่า “แดงสลิ่ม” ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียน กลุ่มคนเหล่านี้เป็น “สลิ่มเทียม”)

6. สลิ่มมีความรู้เรื่องการเมืองดีเยี่ยม: จากการเก็บตัวอย่างแบบสอบถามจากสลิ่มนับพันคน ทุกคนมีความรู้ในสถานการณ์และประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศเทยเป็น อย่างดี ทุกคนรู้ดีว่า ทักษิณเป็นปีศาจจากดาวอังคารที่เกิดมาเพื่อทำลายประเทศเทย ทักษิณสามารถซื้อทุกอย่างในโลกได้ไม่ว่าจะเป็น นักการเมือง, ชาวบ้าน, สื่อ, ตำรวจ, ผู้พิพากษา, CNN, BBC, FBI ,อองซานซูจี (จะมีแต่คนฉลาดและรักชาติอย่างสลิ่มเท่านั้นที่ทักษิณซื้อไม่ได้) ปัญหาทางการเมืองของประเทศเทยล้วนเกิดจากทักษิณทั้งสิ้น ถ้าเรากำจัดทักษิณได้แล้ว ปัญหาต่างๆทางการเมืองเหล่านี้จะคลี่คลายแน่นอน ดังนั้นไม่ว่าจะใช้วิธีใด เราต้องกำจัดทักษิณให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรัฐประหาร,ตุลาการภิวัฒน์, การขอคืนพื้นที่-กระชับวงล้อม หรือแม้กระทั่งการไปงานศพน้องโบว์แดงแสลงใจ

7. สลิ่มมีจิตใจอ่อนไหว: นอกจากมีศีลธรรมอันดีงามแล้ว สลิ่มยังเป็นกลุ่มคนที่มีความอ่อนไหวในจิตใจสูงอย่างยิ่ง เมื่อมีสิ่งที่เร้าความรู้สึกเพียงเล็กน้อย พวกเขาพร้อมที่จะซาบซึ้ง ร้องไห้ ฟูมฟาย เป็นการแสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนของจิตใจที่จะพบได้ในเหล่าคนที่มีศ๊ล ธรรมสูงยิ่งเท่านั้น เหตุการณ์ที่ผมประทับใจในความอ่อนไหวของพวกเขามากที่สุดก็คือ พวกเขาร้องไห้เสียใจและแสดงความอาลัยรักอย่างยิ่งต่ออาคารเซ็นทรัลเวิร์ลที่ ถูกเผาไปโดยกองกำลังไม่ทราบฝ่าย แม้แต่กับสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มีชีวิตพวกเขายังให้ความรัก-ความอาลัยขนาดนี้ ไม่ต้องพูดถึงคุณค่าของชีวิตเลย สลิ่มที่ผู้เขียนไปเก็บข้อมูลกว่าครึ่งเป็นมังสวิรัต!

8. สลิ่มเห็นใจคนเสื้อแดง: เนื่องจากสลิ่มส่วนใหญ่เข้าใจการเมืองอย่างดี พวกเขาจึงรู้ว่าชาวบ้านที่มาชุมนุมกับขบวนการเสื้อแดง เป็นชาวบ้านที่บริสุทธิ์ เพียงแต่หลงผิดเพราะทักษิณ สลิ่มจึงมีความเห็นใจต่อชาวบ้านเสื้อแดงเป็นอย่างมาก พวกเขาจึงมักจะบอกกับชาวเสื้อแดงเสมอๆด้วยข้อธรรมะดีๆว่า “สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม(นะคะ)” และพร้อมที่จะให้อภัยผู้ที่หลงผิดทั้งหมด พร้อมที่จะมากอดกับพวกเขาอีกครั้ง เพื่อ “ขอความสุขกลับคืนมา” สำหรับครอบครัวผู้เสียชีวิตนั้นชาวสลิ่ม ก็ยินดีที่จะสอนพวกเขาด้วยธรรมะดีอีกเช่นกัน เช่น “ก้าวข้ามคราบน้ำตาแล้วมองไปข้างหน้าเถิด”, “ไม่มีใครผิด ไม่มีใครถูก มีแต่ประเทศชาติที่บอบช้ำ เรามาปรองดองกันนะ” ….

9. สลิ่มเป็นคนขวัญอ่อน: สลิ่มเป็นกลุ่มคนที่มีความซับซ้อนในตัวเองอย่างมาก ผู้เขียนรู้สึกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า นอกจากจะเป็นคนมีการศึกษา, มีศีลธรรม,จิตใจอ่อนไหวแล้ว สลิ่มยังเป็นกลุ่มคนที่ขวัญอ่อนอย่างยิ่ง เมื่อไหร่ที่เห็นวัตถุสีแดง สลิ่มจะเกิดอาการที่ผู้เขียนขอเรียกอย่างลำลองว่า “มึงเป็นอะไรของมึง” อาการดังกล่าวลักษณะภายนอกจะคล้ายอาการจิตเภท (Schizophrenia) หรืออาการผิกปกติทางจิตอย่าง anxiety disorder ซึ่งเป็นปากฏการณ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับผู้เขียน (ในขณะสัมภาษณ์ สลิ่มนางหนึ่ง เมือผู้เขียนหยิบปากกาสีแดงขึ้นมาเพื่อขีดเส้นใต้บทสัมภาษณ์ สลิ่มนางนั้นเริ่มมีอาการกระสับกระส่าย ตัวสั่น ดวงตาเบิกกว้างด้วยความหวาดกลัว แล้วก็เริ่มพึมพัมข้อความหยาบคายออกมา เมื่อผู้เขียนเก็บปากการใส่กระเป๋า สลิ่มนางนั้นก็กลับมาเป็นปกติทันที เป็นที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง)

ยังมีจุดสังเกตอีกหลายประการของสิ่ง ที่ผู้เขียนขออนุญาตเรียกว่า “วัฒนธรรมสลิ่ม” แต่หลักใหญ่ใจความผู้เขียนขอสรุปไว้เพียง 9 ข้อข้างต้น ต้องเรียนว่าไม่ใช่สลิ่มทุกคนที่มีลักษณะข้างต้นครบ 9 ข้อ สลิ่มบางคนก็ไม่ได้อ่านหนังสือ สลิ่มบางคนก็ไม่ได้ไปปฏิบัติธรรม ถ้าจะให้สรุปสั้นๆว่า “สลิ่มแท้” ต้องมีลักษณะแบบไหนบ้าง ผู้เขียนเสนอว่าสลิ่มแท้ต้อง “รักพ่อ เกลียดทักษิณ และเสียน้ำตาให้เซ็นทรัลเวิร์ล-ปล่อยวางต่อความตายของคนเสื้อแดง” ซึ่งเป็นลักษณะเด่นที่ผู้เขียนเห็นว่า unique พอที่จะแยกได้คร่าวๆว่าใครเป็น “สลิ่ม” หรือไม่


(3)

สลิ่ม: แล้วเราจะอยู่ร่วมกับเขาอย่างไร

ต่อคำถามนี้ผู้เขียนขอสรุปสั้นๆอย่างสุภาพว่า “ช่างแม่ง” ครับ ปล่อยพวกเขาไปเถิด


*************

แดงสลิ่ม ณ สยามพารากอน
(นักวิจัยอิสระ)