ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Friday, 2 July 2010

มัดมือชก!! ‘ก่อแก้ว’สู้ยาก

ที่มา บางกอกทูเดย์


เลือกตั้งใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ลำพังหาเสียงเลือกตั้ง ภายใต้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็ได้เปรียบเสียเปรียบกันมากแล้ว

หากมาเจอการใช้มาตรการรัฐแจกฟรี ปูทางหาเสียงด้วย... จะไม่ให้ ปชป. ฝันหวานว่าชนะแน่นอนได้อย่างไร

แม้จะป็นเพียงการเลือกตั้งซ่อม แต่สนามเลือกตั้งซ่อม ส.ส. เขต 6 กทม. ถูกสังคมไทยจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงเป็นการลงชนกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคเพื่อไทย

แต่ยังเป็นการวัดกระแสสังคม ตลอดจนยังเป็นการต่อสู้ทางการเมืองที่แหลมคมอีกด้วย
อะไรไม่สำคัญเท่ากับการเป็นระบอบประชาธิปไตยภายใต้กฎหมายเฉพาะกิจ ที่ถูกมองว่าเป็นอำนาจเผด็จการทางการเมือง... ประเด็นนี้แหละที่สะเทือนมากที่สุด

เนื่องจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก จะต้องมีการหาเสียง จะต้องมีประชาชนแห่แหนกันมาฟังนโยบาย แนวคิด และจุดยืน เพื่อที่จะได้นำไปตัดสินใจว่าจะเลือกใครดี

แต่ตอนนี้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งห้ามการชุมนุมทางการเมือง จึงเป็นอะไรที่ลักลั่น และทำลายบรรยากาศประชาธิปไตยในสายตาของสังคมโลกอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลเองแม้ว่าจะรู้ แต่ก็ไม่กล้าที่จะเลิกใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะมีเสียงเรียกร้องมากมายเพียงใดก็ตาม

เพราะนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะ ผู้อำนวยการ ศอฉ. ก็ยอมรับว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นเหมือนเกราะชั้นดีที่ช่วยป้องกันในการทำหน้าที่ของ ศอฉ.
ดังนั้นเมื่อการเลือกตั้งซ่อมเขต 6 เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่นเดียวกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ต้องคงไว้ รัฐบาลจึงถูกจับตามองเขม็งว่า จะใช้กลไกอำนาจรัฐเป็น “ตัวช่วย” ในการเอาชนะศึกเลือกตั้งในครั้งนี้หรือไม่???

ประเด็น “ไฟฟ้า-รถเมล์-รถไฟฟรี” จึงถูกตั้งข้อสังเกตุอย่างหนักจากสังคม ว่าเป็นการหาเสียงรอบนี้ ตลอดจนปูทางหาเสียงในรอบหน้าด้วยหรือไม่ เพราะเมื่อถูกค่อนขอดว่า 5 มาตรการ 6 เดือนนั้น จริงๆ แล้วไม่ใช่ผลงานการคิดของพรรคประชาธิปัตย์ แต่มาจากผลงาน 6 มาตรการ 6 เดือนของพรรคพลังประชาชน สมัยนายสมัคร สุนทรเวช เป็นนาขยกรัฐมนตรี

แล้วก็ใช้ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี... ต่ออายุมาตรการมา 3 รอบแล้ว โดยไม่คิดจะทำอะไรใหม่
แต่พอจะมีการเลือกตั้งซ่อม และมีสัญญาณว่าการเลือกตั้งใหญ่นั้นหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ก็ปรากฏว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้มีการเร่งศึกษา ค่าไฟ-รถเมล์-รถไฟ ฟรีแบบถาวรกันเลยทีเดียว

ทำให้เสียงสะท้อนเกิดขึ้นทันทีว่า นี่คือการหาเสียงทางการเมืองในจังหวะของการเลือกตั้งซ่อมใช่หรือไม่??? คือการปูทางเพื่อเป็นผลงานในการใช้หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตหรือเปล่า???
พร้อมๆกันกับเสียงคัดค้านของนักวิชาการระงมไปหมดว่า รัฐบาลควรจะนำงบประมาณที่มีอยู่จำกัด ไปพัฒนางานด้านขนส่งมวลชนในต่างจังหวัดให้ดีขึ้นจะเหมาะสมกว่า แถมเรื่องนี้ยังเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด และเป็นภาระต่องบประมาณของหน่วยงานที่รับผิดชอบในอนาคตด้วย และที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยเห็นว่ามีประเทศไหนทำแบบหาเสียงทางการเมืองเช่นนี้

ที่สำคัญแม้แต่ นายพิเชษฐ พันธุ์วิชากุล ส.ส.กระบี่ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นคนในพรรคประชาธิปัตย์เองด้วยซ้ำ ยังอดเตือนไม่ได้ว่า จะเป็นภาระของรัฐบาลที่จะรับผิดชอบเพิ่มขึ้น เพราะถ้าให้ประชาชน ก็ต้องให้ตลอด จะมายกเลิกง่ายๆ ไม่ได้

และจะเป็นผลให้สัดส่วนของงบประจำเพิ่มมากขึ้นเฉียดๆ 80% ของงบประมาณทั้งปี
รวมทั้งรัฐบาลต้องรับผิดชอบกับภาระหนี้สินที่เพิ่มมากขึ้นด้วย
เช่นกันกับนายพิเชต สุนทรพิพิธ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2554 วุฒิสภา ที่ระบุอย่างชัดเจนว่า ไม่เห็นด้วย!!!
เพราะแม้จะอ้างว่าเป็นการบริการทางสังคมของรัฐวิสาหกิจ แต่จะเป็นภาระงบประมาณของรัฐ ในขณะที่การจัดเก็บรายได้ก็ยังมีปัญหา

แต่แน่นอนว่าสไตล์ของนายอภิสิทธิ์ ถ้าไม่แน่จริงก็คงไม่ได้ฉายา “ดื้อตาใส” ที่ออกโรงสวนกลับบรรดานักวิชาการที่วิพากษ์วิจารณ์แสดงความไม่เห็นด้วยกับต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน โดยเฉพาะหากมีการใช้เป็นมาตราถาวร ว่าเรื่องนี้ไม่ได้ทำเป็นเรื่องการเมือง
ยืนยันว่าเป็นเรื่องสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อยและด้อยโอกาส ซึ่งส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นมาตการที่ควรทำ อ้างว่าแม้แต่ไอเอ็มเอฟก็เห็นด้วย

“ใครจะคิดหรือพูดอย่างไรก็ได้ แต่ในทางกลับกันถ้าเราทำเป็นระบบจะได้ไม่ต้องนำมาเป็นประเด็นเพื่อหาเสียงกันอีก ดังนั้นคนที่วิจารณ์น่าจะดูให้ดีและครบถ้วนทุกแง่มุม เพราะถ้าปล่อยให้นำเรื่องเหล่านี้ไปหาเสียงกัน ก็อยากจะดูเหมือนกันว่ามีกี่พรรคการเมืองที่บอกว่าจะเลิกมาตรการเหล่านี้”นายอภิสิทธิ์ระบุ
สะท้อนว่า ลึกๆนายอภิสิทธิ์เองก็รู้อยู่แก่ใจว่า ประเด็นเหล่านี้สามารถใช้หาเสียงทางการเมืองได้หรือไม่
จึงไม่แปลกที่นอกจากมาตรการค่าไฟ-รถเมล์-รถไฟ ฟรีแล้ว นายอภิสิทธิ์ ยังสนับสนุนมาตรการการตรึงราคาก๊าซแอลพีจีอีกด้วย โดยยืนยันว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ถูกจุด อ้างว่าควรจะกำหนดราคาที่เหมาะสมเอง โดยไม่จำเป็นต้องไปอิงราคากับตลาดโลก

ฉะนั้นมาถึงวินาทีนี้ชัดเจนแล้วว่า ประชาธิปัตย์ไม่สนว่าจะถูกนักวิชาการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร แต่จะต้องกุมชัยชนะในการเลือกตั้งให้ได้
ก็ได้แต่สะกิดเตือนว่าอย่าประมาทนักก็แล้วกัน เพราะนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ก็เตือนแล้วว่า หากพบว่าประชาธิปัตย์ฮั้วกับพรรคการเมืองใหม่จริงๆ ก็มีสิทธิ์ที่จะถูกยุบพรรค
เพราะว่า เมื่อผู้สมัครพรรคการเมืองใดประกาศตัวว่าจะลงสมัครแล้วต่อมาประกาศถอนตัวภายหลังด้วยการไม่ลงสมัครและยังมีการพูดสนับสนุนว่าจะเทคะแนนให้อีกพรรคการเมืองหนึ่งด้วย
ถือเป็นเรื่องพิศดารจริงๆ