พลันที่มติของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) เสนอให้รัฐบาลยกเลิกประกาศและบังคับใช้พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
"โดยเร็ว"
หลายคนไม่เพียงแต่อยากได้ฟังคำตอบจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการ
และมีองค์ประกอบอันมาจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เท่านั้น
หากที่สำคัญเป็นอย่างมาก หลายคนคงอยากได้ฟังคำอธิบายจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ด้วย
มติของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) นี้ ถือว่าแหลมคม
ที่ว่าแหลมคมมิได้สะท้อนความแหลมคมเฉพาะจาก นายอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะประธานประการเดียว หากที่สำคัญเป็นอย่างมากคือความกาววาวจากกรรมการแต่ละคนด้วย
หลายคนคงจดจำบทบาท นายอานันท์ ปันยารชุน หลังสถานการณ์รสช.ได้
เมื่อคณะรสช.ยึดอำนาจจับตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ไปกักขัง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และเชิญ นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เงื่อนไข 1 ของ นายอานันท์ ปันยารชุน คือ ต้องปล่อยตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
เราไม่รู้ว่าก่อนรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) นายอานันท์ ปันยารชุน จะมีข้อต่อรองอะไรลึกๆ กับรัฐบาลและกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บ้าง
นอกเหนือจากความเป็นอิสระในการเสนอชื่อบุคคลเข้าเป็น "กรรมการ"
เพียง 1 เดือนหลังจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) หลายคนก็ถึงบางอ้อเมื่อรับทราบมติอย่างเป็น "เอกฉันท์" ของคณะกรรมการให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็ว
นี่คือตัวตนอันสะท้อนความเป็นอิสระของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.)
ในความเป็นจริง วิญญูชนย่อมสำเหนียกอยู่แล้วว่าการปฏิรูปประเทศไทยจะกระทำอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ได้อย่างเด็ดขาด หากกระทำภายใต้ร่มเงาอันมืดครึ้มของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เรื่องนี้ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อาจไม่ได้ฉุกคิด
เรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อาจไม่ฉุกคิดเลยแม้แต่น้อย
กระนั้น กล่าวสำหรับคนอย่าง นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวสำหรับคนอย่าง นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ย่อมต้องฉุกคิด
น่ายินดียิ่งกว่านั้นที่มตินี้ออกมาอย่างเป็นเอกฉันท์
เมื่อมีมติออกมา ทางหนึ่ง คณะกรรมการก็นำเสนอต่อรัฐบาล ขณะเดียวกัน ทางหนึ่ง ก็เสนอต่อสังคม
อาศัยมาตรการทางสังคมไปผลักดันสำเหนียกและสำนึกของรัฐบาล
นี่คือกระบวนการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) นี่คือความรอบคอบอันมาจากความจัดเจนส่วนหนึ่งของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะ
หากไม่ทำเช่นนี้ก็ยากที่จะปฏิรูปประเทศไทยได้ในทางเป็นจริง
เหมือนกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็น "เผือกร้อน" อันส่งผ่านมาจาก นายอานันท์ ปันยารชุน
ส่งผ่านไปอยู่ในมือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งผ่านไปอยู่ในมือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส่งผ่านไปอยู่ในมือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
คำตอบที่จะได้กลับมานับว่าระทึกในดวงหทัยอย่างที่สุด
"โดยเร็ว"
หลายคนไม่เพียงแต่อยากได้ฟังคำตอบจากศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน(ศอฉ.) ที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นผู้อำนวยการ
และมีองค์ประกอบอันมาจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐ มนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.ร.อ.กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เท่านั้น
หากที่สำคัญเป็นอย่างมาก หลายคนคงอยากได้ฟังคำอธิบายจาก นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ด้วย
มติของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) นี้ ถือว่าแหลมคม
ที่ว่าแหลมคมมิได้สะท้อนความแหลมคมเฉพาะจาก นายอานันท์ ปันยารชุน ในฐานะประธานประการเดียว หากที่สำคัญเป็นอย่างมากคือความกาววาวจากกรรมการแต่ละคนด้วย
หลายคนคงจดจำบทบาท นายอานันท์ ปันยารชุน หลังสถานการณ์รสช.ได้
เมื่อคณะรสช.ยึดอำนาจจับตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ไปกักขัง ณ ท่าอากาศยานดอนเมือง และเชิญ นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เงื่อนไข 1 ของ นายอานันท์ ปันยารชุน คือ ต้องปล่อยตัว พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
เราไม่รู้ว่าก่อนรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) นายอานันท์ ปันยารชุน จะมีข้อต่อรองอะไรลึกๆ กับรัฐบาลและกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บ้าง
นอกเหนือจากความเป็นอิสระในการเสนอชื่อบุคคลเข้าเป็น "กรรมการ"
เพียง 1 เดือนหลังจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย(คปร.) หลายคนก็ถึงบางอ้อเมื่อรับทราบมติอย่างเป็น "เอกฉันท์" ของคณะกรรมการให้ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยเร็ว
นี่คือตัวตนอันสะท้อนความเป็นอิสระของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.)
ในความเป็นจริง วิญญูชนย่อมสำเหนียกอยู่แล้วว่าการปฏิรูปประเทศไทยจะกระทำอย่างมีศักดิ์ศรีไม่ได้อย่างเด็ดขาด หากกระทำภายใต้ร่มเงาอันมืดครึ้มของพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
เรื่องนี้ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อาจไม่ได้ฉุกคิด
เรื่องนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ อาจไม่ฉุกคิดเลยแม้แต่น้อย
กระนั้น กล่าวสำหรับคนอย่าง นายนิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวสำหรับคนอย่าง นายเสกสรรค์ ประเสริฐกุล ย่อมต้องฉุกคิด
น่ายินดียิ่งกว่านั้นที่มตินี้ออกมาอย่างเป็นเอกฉันท์
เมื่อมีมติออกมา ทางหนึ่ง คณะกรรมการก็นำเสนอต่อรัฐบาล ขณะเดียวกัน ทางหนึ่ง ก็เสนอต่อสังคม
อาศัยมาตรการทางสังคมไปผลักดันสำเหนียกและสำนึกของรัฐบาล
นี่คือกระบวนการทำงานของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย (คปร.) นี่คือความรอบคอบอันมาจากความจัดเจนส่วนหนึ่งของ นายอานันท์ ปันยารชุน และคณะ
หากไม่ทำเช่นนี้ก็ยากที่จะปฏิรูปประเทศไทยได้ในทางเป็นจริง
เหมือนกับพ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็น "เผือกร้อน" อันส่งผ่านมาจาก นายอานันท์ ปันยารชุน
ส่งผ่านไปอยู่ในมือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ส่งผ่านไปอยู่ในมือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส่งผ่านไปอยู่ในมือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
คำตอบที่จะได้กลับมานับว่าระทึกในดวงหทัยอย่างที่สุด