อารยะขัดขืน -(ภาพบน)ภาพกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายนที่ผ่านมา เพื่อสานต่อเจตนารมณ์บก.ลายจุดขณะที่เจ้าตัวส่งจดหมายถึงเพื่อนร่วมอุดมการณ์(ล่าง) และฝากให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา ประชาไท และ บอร์ดราชดำเนิน เฟซบุ๊ค และ มติชนออนไลน์
28 มิถุนายน 2553
ประชาไท รายงานว่า ในช่วงเช้าของวานนี้ นายอานนท์ นำภา ทนายความ ได้เข้าเยี่ยมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ที่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ภาค1 คลอง 5 ปทุมธานี และระบุว่าในวันที่ 29 มิ.ย.นี้ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลปล่อยตัวนายสมบัติ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 เนื่องจากเห็นว่าเป็นการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ การที่รัฐร้องขอนั้นเป็นการเขียนคำร้องโดยไม่สุจริต ถือเป็นการกลั่นแกล้งผู้ที่ไม่เห็นด้วยในทางการเมือง ส่วนสภาพความเป็นอยู่ของนายสมบัตินั้นค่อนข้างดี
ทั้งยังได้ฝากข้อความรณรงค์ 'วันอาทิตย์' สีแดงมายังทนายความด้วย ระบุว่า “การคิด ความเชื่อ การแสดงออกโดยสันติ ไม่ผิด เพียงเราเกิดผิดยุค ดังนั้น เราต้องเปลี่ยนยุคสมัยของเราให้มีความเป็นธรรม”
ในการเข้าเยี่ยมนายสมบัติวันนี้ยังมีตัวแทนอนุกรรมการฯ ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเข้าร่วมด้วย โดยนายสมบัติได้ฝากจดหมายเขีนด้วยปากกาสีแดงถึงประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรียกร้องให้สนับสนุนการยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินและขอให้ปล่อยตัวประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างทางการเมือง ดังมีเนื้อหารายละเอียดดังนี้
ถึง ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และประธานอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เรื่อง โปรดสนับสนุนการยกเลิกพ.ร.ก.การบริหารราชการแผ่นดินในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และขอให้ปล่อยตัวประชาชนที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง
ตามที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้มีการสลายการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่ม นปช. โดยใช้กำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม โดยอ้างพ.ร.ก.ฉุกเฉินจนทำให้มีผู้ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก จนบัดนี้ยังไม่มีผู้ใดในฝ่ายรัฐที่ออกมารับผิดชอบต่อการสูญเสียที่เกิดขึ้น นอกไปจากการจับกุมประชาชนที่มีทัศนคติอันแตกต่างจากรัฐโดยอ้าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ปัจจุบันการชุมนุมใหญ่บนถนนราชประสงค์ได้ยุติมา 1 เดือนแล้ว สถานการณ์กลับสู่ความปกติ กรณีการอ้างความจำเป็นในการคงไว้ซึ่งประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อติดตามและจัดการกับกลุ่มก่อการร้ายและผู้กระทำความผิดร้ายแรงนั้นสามารถใช้กฎหมายอาญาปกติได้ แต่รัฐประสงค์ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชนฝ่ายตรงข้าม เพื่อปกปิดข้อเท็จจริงในเหตุการณ์ และรักษาความนิยมของตนเองที่กำลังถูกตั้งคำถามจำนวนมากต่อการตัดสินใจใช้กำลังสลายการชุมนุม
ทุกวันนี้สื่อมวลชนถูก พ.ร.ก.ฉุกเฉินปิดกั้น รวมถึงสื่อทางเลือกอย่างอินเตอร์เน็ตก็ยังถูกบล็อกจำนวนมาก กล่าวคือ สถานการณ์การรับรู้ข่าวสารของประชาชน รัฐอนุญาตรับฟังได้จากฝ่ายรัฐเพียงฝ่ายเดียว
ความมั่นคงของรัฐบาลได้ถูกบิดเบือนเป็นความมั่นคงของรัฐ และดูเหมือนว่า ความมั่นคงนั้นจะไม่มี “สิทธิของประชาชน” อยู่ในนั้น
ในฐานะที่ท่านเป็นองค์กรที่ต้องตรวจสอบ และคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน โปรดร่วมกับประชาชนที่ถูกลิดรอนสิทธิเรียกร้องไปยังรัฐบาลเพื่อยกเลิกการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของคนไทย ในยามที่บ้านเมืองแทบจะมองไม่เห็นความเป็นธรรมในขณะนี้
ด้วยความนับถือ
สมบัติ บุญงามอนงค์
27 มิ.ย.53
อ่านเพิ่มเติม: สัมภาษณ์ บก.ลายจุด: จิตวิญญาณผู้ก่อการ (ร้าย?) ทางสังคม
ชาวเฟซบุ๊คสานต่อเจตนารมณ์วันอาทิตย์สีแดง
ขณะที่ในโลกไซเบอร์ คือface book เมื่อวานนี้ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่27มิถุนายน ได้มีการนัดหมายกันทำกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดงที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง โดยนัดหมายจิบกาแฟ สนทนา และใช้ชีวิตปกติโดยสวมใส่เสื้อแดง อันเป็นการสานต่อต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่บก.ลายจุดริเริ่มเอาไว้
ผู้ใช้นาม "ไพร่ สไนเปอร์ ได้ประกาศแถลงการณ์เรื่อง "การจับ บก.ลายจุด อาทิตย์ยังคงสีแดงตลอดไป" โดยมีรายละเอียดว่า
จากเหตุการณ์"กระชับพื้นที่" ที่เกิดขึ้นในวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ยังผลให้รัฐบาล ได้รับชัยชนะทางด้านการทหาร เนื่องจากผู้ชุมนุมปราศจากอาวุธ และมีการบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก แต่ในด้านคุณธรรม จริยธรรม สังคม วัฒนธรรมและการปกครองนั้น รัฐบาลพ่ายแพ้"คนเสื้อแดง"อย่างยับเยินยู่ยี่ ส่งผลให้รัฐบาล พยายามโปรโมทภาพลักษณ์ตัวเองเพื่อหวังผลใ ห้เป็นฝ่ายกลับมาชนะประชาชนอย่างหนักหน่วง จึงได้ใช้มาตรการปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน โดยการให้ยายฟองบ้าออกมาพ่นน้ำลายชื่นชมรัฐบาล ด่าเสื้อแดงทุกวันตามสถานีวิทยุ หรือให้หอยเน่าม ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งทั่วประเทศทุกวัน ให้ข่าวของช่องฟรีทีวีออกข่าวทางบวกของรัฐบาล และโหมกะพือข่าวการคิดถึงห้าง มากกว่าที่จะนำเสนอข่าวคนโดนฆ่าตายด้วยอาวุธสงครามของทหาร มากกว่าข่าวผู้บาดเจ็บจำนวนมากจากกระสุนจริงของทหาร และล่าสุดจับ บ.ก ลายจุดหวังเพื่อหยุดกระแส "วันอาทิตย์สีแดง" ที่จะเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ทำให้เรา 2-3 คนมาพบปะพูดคุยปรับทุกข์แดงๆของพวกเราได้ยุติไป
"วันอาทิตย์สีแดง" เป็นการต่อสู้เชิงสัญลักษณ์ที่สำคัญ การใส่เสื้อสีแดงในทุกๆวันอาทิตย์ เพื่อเป็นการประกาศให้ประชาชนทั่วประเทศทั่วโลกรู้ว่า "ยังมีผู้คนที่ยังรักในประชาธิปไตย ยังรักในความยุติธรรมยังแสวงหาความเท่าเทียม" อยู่ในประเทศนี้ ถึงแม้ว่า บ.ก ลายจุด จะโดนควบคุมตัวโดยคำสั่งของ ศอฉ. ไปนั้น แต่ "วันอาทิตย์สีแดง" ของพวกเราไม่อาจสามารถยุติลงได้ ทั้งนี้เนื่อง"วันอาทิตย์สีแดง"ไม่ได้ก่อให้เกิดความรุนแรงทางด้านการทหาร ไม่ก่อให้เกิดสถานการณ์ที่สร้างความไม่มั่นคงให้รัฐบาล,เศรษฐกิจและสังคมแต่อย่างใด เมื่อพิจารณาแล้วเห็นสมควรว่า "วันอาทิตย์สีแดง" จะดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องต่อไป ดุจดั่งดวงอาทิตย์ ฉายแสงสุกใสและอาทิตย์ยังคงสีแดงตลอดไป
ลำดับภาพข่าวอาชญากรรมในประเทศเผด็จการ..!
ข้ออ้างในการจับกุม -'บก.ลายจุด' หรือ สมบัติ บุญงามอนงค์(ภาพบน)ทำกิจกรรมflash mob"หยุดฆ่า หยุดเผา หยุดอภิสิทธิ์"ใต้ทางด่วนบิ๊กซีลาดพร้าวช่วงบ่ายวันที่ 20 พฤษภาคม หลังเหตุการณ์19พฤษภาคมเพียงวันเดียว ทั้งนี้เพื่อกระตุกสังคมให้ตระหนักว่ามีผู้ประท้วงถูกฆ่าในการล้อมปราบหลายชีวิต(ภาพล่าง)ไม่ได้มีแต่เรื่องการเผาทำลาย"ทรัพย์สิน"เท่านั้น กรณีดังกล่าวนี้ตำรวจอ้างเป็นเหตุจับกุมฐานฝ่าฝืนสถานการณ์ฉุกเฉินต่อบก.ลายจุดเมื่อวันเสาร์ที่26มิ.ย.ขณะไปผูกผ้าแดงแยกราชประสงค์
บก.ลายจุด กับ"กลุ่มface bookวันอาทิตย์สีแดง" นำผ้าสีแดงไปผูกที่ป้ายแยกราชประสงค์ บริเวณที่คนเสื้อแดงเคยจัดกิจกรรมชุมนุมโดยมีตำรวจมาจับกุม อ้างว่า ทำผิดประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน
ตำรวจมองขึ้นมาบนสะพานลอยจุดที่ผู้ถ่ายภาพนี้ไว้ได้ เพราะคนถ่ายรูปก็ใส่เสื้อI'M RED วันอาทิตย์สีแดง เหมือนกัน และมาร่วมกับบก.ลายจุดทำกิจกรรม
นี่คือภาพสุดท้าย ที่ บก.ลายจุดมองขึ้นมายังช่างภาพ แล้วผงกหัวให้ลงไปช่วยผูกผ้า แต่ต่อมา ตำรวจได้ควบคุมตัวบก.ลายจุดไปแล้ว
จับ "บก.ลายจุด" ไป ตชด.คลอง 5 ตำรวจอ้างข้อหาฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
ภาพกิจกรรมก่อนถูกจับกุมตัว
"สมบัติ บุญงามอนงค์" นำสมาชิกกลุ่มไปผูกผ้าแดงที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ ก่อนตำรวจคุมตัวไป สน.ลุมพินี ตามหมายจับของ ศอฉ. เดิม ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินกรณีชุมนุมที่ลาดพร้าว 71 ใต้ทางด่วนช่วง 19 พ.ค. ล่าสุดมีการคุมตัวไปกองบังคับการ ตชด.ภาค 1 ที่คลอง 5 ปทุมธานีรอ จนท.ศอฉ.สอบปากคำ ขณะที่มีประชาชนอีกกลุ่มนำสติ๊กเกอร์ค้านพ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ข้อความ "เราเห็นคนตาย" ไประดมติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส
เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. วานนี้ (26 มิ.ย.) นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด นักกิจกรรมทางสังคม และผู้นำกลุ่ม"วันอาทิตย์สีแดง"ทาง facebook ได้นัดสมาชิกกลุ่มในเฟซบุคไปผูกผ้าสีแดง ที่ป้ายสี่แยกราชประสงค์ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเวทีปราศรัยของแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคมที่ผ่านมา ก่อนถูกสลายการชุมนมุวันที่ 19 พ.ค.
ต่อมาเวลาประมาณ 17.30 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาพูดคุยกับนายสมบัติ และเชิญตัวไปสอบถามเพิ่มเติมที่ สน.ลุมพินี ขณะที่ภายนอก สน.ลุมพินี มีกลุ่มผู้สนับสนุน และเพื่อนของนายสมบัติมาให้กำลังใจจำนวนมาก
ขณะถูกควบคุมตัวบนสน.ลุมพินี
นอกจากนี้มีประชาชนอีกกลุ่มนำสำสติ๊กเกอร์รณรงค์ยกเลิกการใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และสติ๊กเกอร์ที่มีข้อความ "เราเห็นคนตาย" หลายร้อยแผ่น มาติดบริเวณทางเดินเชื่อมสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสยาม ถึงสถานีรถไฟฟ้าชิดลม และป้ายบริเวณห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ด้วย
โดย พล.ต.ต.อนุชัย เล็กบำรุง ผบก.น.5 กล่าวว่า ที่จับกุมนายสมบัติเพราะนายสมบัติมีหมายจับของศาลเลขที่ 116/2553 ออกเมื่อ 21 พ.ค. ฐานฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หลังนายสมบัติจัดการชุมนุมที่บริเวณลาดพร้าว 71 เลียบทางด่วน ช่วงสลายการชุมนุม 19 พ.ค. เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเห็นนายสมบัติปรากฏตัวในที่สาธารณะจึงจับกุมทันที
โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ไปนำนายสมบัติเดินทางไปยังกองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 ต.คลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เพื่อให้พนักงานสอบสวนของ ศอฉ. เดินทางมาสอบสวนนายสมบัติที่นั่น
นายสมบัติไม่ให้สัมภาษณ์ใดๆ กับผู้สื่อข่าว กล่าวเพียงแต่ว่ามาสี่แยกราชประสงค์เพื่อเตรียมรณรงค์กิจกรรม "วันอาทิตย์สีแดง" ที่จะจัดในวันพรุ่งนี้ (27 มิ.ย.) เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มกิจกรรมดังกล่าว จึงคิดว่าต้องมาเตรียมกิจกรรมเอง โดยก่อนถูกตำรวจควบคุมตัวไปที่กองบังึคับกรตำรวจตระเวนชายแดนภาค 1 นายสมบัติได้ตะโกนว่า "ทำวันอาทิตย์สีแดงต่อ"
สำหรับนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก่อนหน้านี้เคยถูกควบคุมตัวมาแล้ว โดยเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 50 ถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎอัยการศึก หลังปราศรัยคัดค้านการรับรัฐธรรมนูญ 2550 ที่สถานีขนส่ง อ.เมือง จ.เชียงราย ก่อนถูกทหารจากจังหวัดทหารบกเชียงราย ค่ายเม็งรายมหาราชควบคุมตัวและสอบปากคำ ก่อนทหารยอมปล่อยตัวเช้าวันถัดมา
ล่าสุดบก.ลายจุดเชิญชวนคนเสื้อแดงและฝ่ายประชาธิปไตยรวมตัวกันจัดกิจกรรมวันอาทิตย์สีแดง และก่อตั้ง กลุ่มfacebookวันอาทิตย์สีแดง ต่อต้านเผด็จการ และเคยถูกศอฉ.ปิดกั้นเฟซบุ๊คมาแล้ว การที่ตำรวจควบคุมตัวบก.ลายจุนั้น มีเสียงวิจารณ์ว่าเพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนไหวต่อต้านผ่านfacebookซึ่งเป็นสื่อใหม่ที่กำลังมีอิทธิพล เพราะมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ตามมีการนัดหมายทาง face book ว่า
พรุ่งนี้เวลา 12.00 น. พบกันที่บิ๊กซีสะพานควาย ต่อจากนั้นไปฟังการสัมมนาวิชาการกับคุณจาตุรนต์ ฉายแสง ที่กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธืปไตยจัดรำลึกวันชาติ24มิถุนายน ณ ห้องเทพประทาน โรงแรม มิโด้ ประดิพัทธ์ เวลา 13.00 น. พี่น้องชาวเสื้อแดงอย่าลืมมาทำกิจกรรมร่วมกันนะค่ะ บก.ลายจุดจะได้ไม่ผิดหวังค่ะ00000000
นักกิจกรรมสังคมออกจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ปล่อยตัวทันที
ภายหลังมีการจับกุมตัวนายสมบัติ ทางเครือข่ายนักพัฒนาเอกชน และนักกิจกรรมทางสังคม เพื่อประชาธิปไตยได้ออกจดหมายเปิดผนึก ขอให้ปล่อยตัว นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข โดยมีรายละเอียดดังนี้
วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 2553
ในท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งที่กำลังจะมุ่งไปสู่ความพยายามปรองดองโดยรัฐบาลยังคงมีการบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินร้ายแรง ซึ่งเป็นการ ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ในการปฎิบัติงานโดยไม่ต้องรับผิด จับกุมคุมขังโดยไม่มีข้อกล่าวหา ทำให้ความปรองดองที่เกิดขึ้นเป็นเพียงการปรองดองที่จอมปลอมและหลอกลวง เป็นเพียงการสร้างภาพไปวันๆของรัฐบาล
ในวันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน 53 เวลาประมาณ 18.00 น. ได้มีกิจกรรมรำลึกถึงความสูญเสียในการเรียกร้องประชาธิปไตย ด้วยการผูกผ้าแดงที่สี่แยกราชประสงค์ โดยมิได้ก่อความไม่สงบ หรือก่อความเดือดร้อนให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นเพียงกิจกรรมตามมโนธรรมสำนึกและสิทธิของประชาชน รวมทั้งมิได้มีแกนนำแม้แต่ผู้เดียว
ทว่า เมื่อเวลา 18.00 น. ปรากฏว่ามีการจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมทางสังคม ที่ทำงานด้านศิลปวัฒนธรรม งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ ประสบภัยน้ำท่วมอุตรดิตถ์ ช่วยเหลือแรงงามข้ามชาติ ผู้ถูกกดขี่ ต่อต้านการค้ามนุษย์ ส่งเสริมประชาธิปไตย มีการทำงานกับเด็กไทยภูเขาเพื่อให้เรียนรู้เรื่องสิทธิทางการศึกษา รวมทั้งเป็นผู้ริเริ่มในการดำเนินกิจกรรมติดตามผู้สูญหายจากการสลายการชุมนุมของรัฐบาล ซึ่งนับเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่มีคุณค่าต่อสังคมไทย สมบัติ บุญงามอนงค์ คือ ผู้บุกเบิกงานอาสาสมัครยุคใหม่ในสังคมไทย และเป็นนักกิจกรรมทางสังคมที่ไม่เพิกเฉยความไม่เป็นธรรม
การจับกุมนายสมบัติ บุญงามอนงค์ในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงการคุกคามพลเมืองที่มีคุณูปการต่อสังคม และแสดงให้เห็นถึงรัฐบาลไม่มีความจริงใจดำเนินงานตามแผนปรองดองแห่งชาติ
พวกเราตามรายนามดังต่อไปนี้ เป็นนักกิจกรรมทางสังคม เป็นสามัญชน ขอประณามการกระทำของรัฐบาลในครั้งนี้ ขอให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์รวมทั้งบุคคลอื่นๆในทันที โดยไม่มีเงื่อนไข และพวกเราขอเรียกร้องให้มีการยกเลิก พรก.ฉุกเฉิน เพื่อเป็นก้าวแรกในการนำไปสู่การปรองดอง
“ด้วยความหวาดกลัว พรก.ฉุกเฉิน”
1. นายกิตติชัย งามชัยพิสิฐ
2. นายประดิษฐ์ ลีลานิมิต
3. นายบารมี ชัยรัตน์ สถาบันสันติประชาธรรม
4. นายเขมทัศน์ ปาลเปรม กลุ่มปฎิบัติการเพื่อสิทธิคนจน
5. นางสาวพรพิมล สันทัดอนุวัตร
6. นายวรรณเกียรติ ชูสุวรรณ
7. นายพันศักดิ์ ศรีเทพ รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการเยียวยาสถานการณ์ฉุกเฉิน
8. นางสาวศิริพร พรมวงศ์
9. นางสาวจารุวรรณ สาทาลัย
10. นางสาววลสุดา โพเย็น
11. นางสาวจิราพร หิรัญบูรณะ
12. นายรัชพงษ์ โอชาพงศ์
13. นายสันติ โชคชัยชำนาญกิจ
14. นางสาวพัชรี อังกูรทัศนียรัตน์
15. นางสาววิรพา อังกูรทัศนียรัตน์
16. นางสาววัชรินทร์ สังขาระ
17. นางสาววนิดา สุรคาย
18. นางสาวอุลัยรัตน์ ชูด้วง
19. นางสาวพนิดา บุญเทพ
20. นายญัฐพงษ์ ภูแก้ว
21. นายอรรถพล บุญไพโรจน์
22. นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย
23. นางสาวปาริดา ปะการะโพธิ์
24. นางสาวสลิลทิพย์ ณ พัทลุง
25. นางสาวอรุณวนา สนิกะวาที
26. นายสุพัดตรา ธานีวรรณ
27. นายสุวิทย์ นาดี
28. นายธิติ มีแต้ม
29. นายวิทยา แสงระวี
30. นายกิตติศักดิ์ จันทร์ใหม่
31. นายอรรถพร ขำมะโน
32. นายกิตติเดช บัวศรี
33. นายตะวัน พงศ์แพทธ์
34. นางสาวสุปราณี คันธะชัย
35. นางสาวปณิธิตา เกียรติ์สุขพิมล
36. นายธิกานต์ ศรีนารา
37. นายเจษฎา โชติกิจวิภาค
38. นายปราการ กลิ่นฟุ้ง
39. นายรอมฎอน ปันจอร์
40. นางสาวอัญญรัตน์ อ่อนสุทธิ
41. นายชล เจนประภาพันธ์
42. Edward Creed
43. นายชัยวัฒน์ ไชยจารุวณิช
44. นางภาวิณี ไชยจารุวณิช
45. นางสาวแก้วตา ธิมอิน
46. นางสาวสุธารี วรรณศิริ
47. นายอภิศักดิ์ สุขเกษม
48. นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล
49. นางสาวอรชพร นิมิตกุลพร
50. นางสางสุลักษณ์ หลำอุบล
51. นางสาวขวัญระวี วังอุดม
52. นายติรัฐสรรพ์ ประมวลศิลป์
53. นางสาวนฤมล ทักชุมพล
54. นางสาวอธิษฐาน์ คงทรัพย์
55. นางสาวปาริชาด สุวรรณบุปผา
56. นางสาวแก้วตา เพชรรัตน์
57. นางสาวพรพิมพ์ แซ่ลิ้ม
58. นายสันติ ศรีมันตะ
59. นางสาวประไพ กระจ่างดี
60. นางสาวพัชรี พาบัว
61. นายสุรชาติ ไตรสูงเนิน
62. นายกิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์
63. นายธัญสก พันสิทธิวรกุล
64. นายฮาเมอร์ ซาวาลา
65. กลุ่ม Anti Social Sanction
66. นายเรืองฤทธิ์ โพธิพล
67. นางสาวอุมาภรณ์ ตั้งเจริญบำรุงสุข
68. นายอภิสิทธ์ มีภาทัศน์
69. นายอาคม ตรีแก้ว
70. นายอนุวัฒน์ พรหมมา
71. นางสาวสุนิสา ปุ่มวงศ์
72. นางสาวปางทิพย์ มั่นธร
73. นางจิรพา มูลคำมี
74. นายซะการียา อมาตยา
75. นายมูฮัมหมัด ฮาลัสกาเหย็ม
76. นายภัทรดนัย จงเกื้อ
77. นางสาวปชาบดี พุ่มพวง
78. นายอุเชนทร์ เชียงแสน
79. นายโชติศักดิ์ อ่อนสูง
80. นายประพนธ์ สิงห์แก้ว
81. นายชาติชาย ธรรมโม
82. นายอิทธิพล สีขาว
83. นายสมรักษ์ อุตห์จันดา
84. นางสาวสาวิตรี พูลสุขโข
85. นายเก่งกิจ กิตติเรียงลาภ
86. นายศิววงศ์ สุขทวี
87. นางสาวสายัณห์ ข้ามหนึ่ง
88. นางสาวศิวพร ปัญญา
89. นางสาววิลาวรรณ เพเดอร์เซ่น
90. นางสาวเพิ่มสุข อัมพรจรัส
91. นางสาววรรณรัตน์ อุนสวัสดิ์อาภา
92. นายกรชนก แสนประเสริฐ
93. Miss.Pornthip Weinhold
94. นายธีรพงษ์ เงินถม
95. นายจามร ศรเพชรนรินทร์
96. นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์
97. นายศิริโชค เลิศยโส
98. นายนิธิวัต วรรณศิริ
99. นายคมลักษณ์ ไชยยะ
100. นายไชยวัฒน์ ตระกาลรัตนสันติ
101. นายขจรศักดิ์ แกล้วการไร่
102. นางสาวปัททุมมา ผลเจริญ
103. นางสาวพัชณีย์ คำหนัก
104. รศ.สุชาย ตรีรัตน์
105. นายวัฒนา สุขวัจน์
106. นางสาวจิตรา คชเดช เจ้าหน้าที่สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย
107. นายอรรคพล สาตุ้ม
108. รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล