ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Tuesday, 29 June 2010

สื่อ กับ รัฐ! อะไรควร‘ปฏิรูป’

ที่มา บางกอกทูเดย์


ใครกัน คือ ผู้ที่ทำลายประเทศชาติตัวจริง? ใครกัน คือ บ่อนทำลายให้ประชาชนหันหน้าเข้ามาห้ำหั่นกัน? คำถามเหล่านี้ถูกโยนมาให้ “รัฐบาล” และ “สื่อสารมวลชน” เป็นผู้ตอบ...เพราะต่างเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการ “สมานแผล” ให้เกิดความสามัคคีปรองดองขึ้นในสังคม แต่ความเป็นจริง “สื่อสารมวลชน”

กับ “รัฐบาล” ยังไม่คิดที่จะปรองดองกัน...แล้วพวกเขาจะไปสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นแก่คนในสังคมได้อย่างไร ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุผลสำคัญคือการไม่รู้จักคำว่า “หน้าที่”“สื่อมวลชน” มีหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลและนำเสนอข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง “รัฐบาล” มีหน้าที่บริหารและราชการแผ่นดิน และพร้อมเสมอกับ

การรับการตรวจสอบ แล้วใครกันคือ “ผู้ที่ล้ำเส้น” ทำตัวเป็นมาเฟียประเทศ...สั่งการปิดหูปิตาปิดปากประชาชน...เพียงเพื่อให้ “ความจริง” ไม่กลายมาเป็นภัยมาทำร้ายตัวพวกเขาเอง ดูตัวอย่างได้จากปีนี้ คือ ช่วงเวลาครบรอบ 10 ปีแห่งการสรรหาคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)

ตาม พ.ร.บ.การจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2543 แต่ทำไมเวลายิ่งผ่าน...การบริหารงานกลับยิ่งล้มเหลว เพราะล่าสุดรัฐบาล “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ได้ร่างกฎหมายเพื่อขัดขวางมิให้ผู้มีส่วนได้ – ส่วนเสียเข้ามานั่งเป็นคณะกรรมการ...ซึ่งดูท่าจะ “ล้มเหลว” ตั้งแต่ยังไม่ตั้งไข่ การประกาศพรก.ฉุกเฉิน จึงมีเบื้องลึก

เบื้องหลังเกี่ยวกับการจัดสรรสื่อ เพราะทันทีที่การชุมนุมกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ถูกสอดไส้ด้วยผู้ก่อการร้ายบุก เผา ยิง ระเบิดจนวอดวาย ส่งผลให้รัฐบาลออกหน้าโดย ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) มีใบสั่ง “กำจัด” กลุ่มคนเสื้อแดง จริงๆ แล้ว “สื่อ” ต้องเป็น

เครื่องมือสำคัญที่จะตอบคำถามให้ความกระจ่างกับสังคมแทนรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น แต่ทำไมรัฐบาลกลับมองว่าสื่อคือ “ชนวน” ที่ก่อให้เกิดความไม่สงบภายในประเทศ รัฐบาลจึงปฏิบัติการควบคุมสื่อทุกแขนงโดยให้เหตุผลว่า “เข้าข่าย ยุ แหย่ให้เกิดความไม่สงบ” ก่อนสั่งระงับการเผยแพร่สื่อตลอดจน

การเรียกพบเพื่อทำข้อตกลง “บางกอกทูเดย์” ได้รับรายงานจาก “วิชาญ อุ่นอก” เลขาธิการสหพันธ์วิทยุชุมชนแห่งชาติ ว่า...ช่วงการชุมนุมทางการเมืองได้มีการหนังสือส่งไปยังวิทยุชุมชนทั่วประเทศเพื่อให้สถานีวิทยุชุมชนควบคุมเนื้อหารายการที่จะออกอากาศ โดยพยายามให้หลีกเลี่ยงการตั้งคำถามเกี่ยวกับนโยบาย

การทำงานของรัฐบาล หลังจากนั้นได้มีการเชิญตัวแทนวิทยุชุมชนไปทำความเข้าใจที่ ศอฉ. โดยระบุว่า...การชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงนั้นผิดกฎหมายห้ามวิทยุชุมชนเสนอข่าว รวมทั้งขอความร่วมมือให้วิทยุชุมชนเป็นช่องทางการสื่อสารของรัฐบาลด้วย นอกจากนี้ยังมีการเรียกวิทยุชุมชนเข้าลงบันทึกความร่วมมือ...

เพื่อควบคุมเนื้อหาในการออกอากาศซึ่งดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ หลังเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองมีคำสั่งปิดวิทยุชุมชนรวม 14 สถานี ทั้งในรูปแบบมีหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรและใช้กองกำลังทหารเขาไปรื้อและย้ายที่ทำการสถานี ที่ผ่านมา...วิทยุชุมชนต้องการเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาแสดงความชัดเจน

ในการสั่งระงับการออกอากาศอย่างไม่มีกำหนด...แต่ก็ไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบรับ โดยสถานีที่โดนชะลอสิทธิ์ออกอากาศและโดนเพิกถอนสิทธิการออกอากาศ...นอกจากจะมีปัญหาเรื่องเอกสารไม่ครบถ้วนแล้ว หลายสถานีได้มีการนำเสนอรายทางที่มีเนื้อหาทางการเมือง ซึ่งเป็นสิทธิที่สามารถสื่อสารได้ และข้อมูล

ที่นำเสนอก็ไม่ได้เข้าข่ายที่จะนำไปสู่ความรุนแรง แต่อาจจะอยู่ในลักษณะที่วิจารณ์การทำงานของรัฐบาล สุเทพ วิไลเลิศ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ ระบุว่า หลังจากรัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และมอบหมายให้ศอฉ. รับผิดชอบหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ ได้มีการ “สั่งปิดเว็บไซต์” ไปจำนวนมาก โดยไม่มีการชี้แจงว่า...ปิดเพราะอะไร? หรือ ศอฉ. ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่ผ่านอำนาจของตุลาการ สื่อ กับ รัฐ...เปรียบเสมือน

หยิน กับ หยาง เพราะถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้เกิด “ความสมดุล” แต่วันนี้ใครกันที่ทำให้ความสมดุลเหล่านั้นสูญสิ้นไป...ใครกันที่ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง “มีอำนาจ” แล้วใช้อย่างหน้ามืดตามัว เชื่อว่าประชาชนคงตอบได้ “สื่อ” หรือ “รัฐ” ที่ควรถูกจับขึ้นเขียง...โดนชำแหละเพื่อให้เกิดการปฏิรูป!