ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 7 September 2009

รัฐบาล! อ่านตรงนี้

ที่มา บางกอกทูเดย์

การเมืองไทย!! สาละวนกับปัญหาแบ่งข้าง แยกสีชิงงบกันพัลวัน หมื่นราตรี โดยไม่เห็นว่าจะมีวี่แวว “สงบ”วันนี้ ราตรีนี้..การเมืองไทยใน “ใจ” คนทั้งโลก โดยเฉพาะคนไทยคงจะ “เบื่อหน่าย” และ “ตายด้าน”...ถึงขนาดถอดใจ “โกงได้โกงไปแต่ประเทศต้องเดินหน้า”ผู้เขียนได้อ่านบทความชิ้นหนึ่ง!!! เกี่ยวกับนักการเมือง..เห็นว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ควรมองข้าม

“หลงอิงถาย” คือ เจ้าของบทความชิ้นที่ผู้เขียนนำมาอ้างอิง“หลงอิงถาย” เป็นคุณครู เป็นนักเขียนและวิทยากรชาวไต้หวันเขียนบทความชิ้นนี้เมื่อปี 2549 ช่วงนั้นการเมืองไต้หวันกำลังระอุพอดิบพอดีกับการเมืองไทยอยู่ในช่วงปฏิวัติบทความชิ้นนี้ต้องการสื่อให้เห็นว่า ผู้นำ-นักการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนไต้หวัน ซึ่งผู้เขียนมองว่าเนื้อหาในบทความควรเป็น “บทเรียน” ให้กับผู้นำ-นักการเมืองทั่วโลกได้ “รับรู้”หลงอิงถายมองว่า ผู้นำของประเทศควรมีความรับผิดชอบที่เป็นหัวใจสำคัญอยู่ 4 ประการ คือข้อหนึ่ง ไม่ว่าสถานการณ์ของประเทศชาติจะยากลำบากเพียงใดเขาต้องมีความสามารถพอที่จะทำให้ประชาชนมีความภาคภูมิใจต่อประเทศของตนเอง และทำให้พลเมืองรู้สึกมีเกียรติภูมิในตนเองอย่างเต็มเปี่ยมข้อสอง ไม่ว่าพลังของฝ่ายค้านจะแข็งแกร่งเพียงใด เขาจะต้องมีความสามารถในการผนึกความรู้สึกร่วมของประชาชน ความรู้สึกร่วมที่มีต่อประเทศชาติ ความรู้สึกร่วมที่มีต่อสังคม โดยเฉพาะความรู้สึกร่วมที่มีต่อกันข้อสาม ผู้นำต้องมีความสามารถที่จะเสนอมโนทัศน์อันยาวไกลของประเทศชาติ โดยประชาชนได้มีความรู้สึกร่วมและยินยอมโดยสมัครใจที่จะร่วมกันใช้ความพยายามเพื่อมโนทัศน์นี้ข้อสี่ ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นนักบุญ แต่เขาจำเป็นต้องมีเกณฑ์ของคุณธรรมในระดับหนึ่ง เป็นคุณค่าร่วมกันและเป็นสัญลักษณ์ของสังคมจากภายในผู้เขียนขอสรุปว่า ไม่ว่าจะชาติใด เชื้อชาติใด ทุกคนล้วนต้องการ“ผู้นำ” ที่มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมเป็นเรื่องสำคัญคนไทยเองก็ต้องการผู้นำที่มีความสามารถ น่าศรัทธานำพาประเทศและคนไทยให้ก้าวหน้า โดยไม่อายชาติใดผู้นำจะต้องเป็น “ตัวอย่าง” ให้กับเยาวชนอย่างไรก็ตาม เรายอมรับว่า “ผู้นำ” ก็ต้องมีความรู้สึกรักโลภ โกรธ หลง บ้างเป็นธรรมดาผู้เขียนเลยตัดทอนบทความตอนหนึ่งของ “หลงอิงถาย”ที่เขียนไว้ว่า ผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นนักบุญ แต่ต้องมีคุณธรรมขั้นพื้นฐานคุณธรรมดีงามที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย คือ “อ่อนน้อมอ่อนโยน ถ่อมตน และมีน้ำใจ” นัยหนึ่งเป็นคนที่อบอุ่น จิตใจดีงาม

อ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่น มีน้ำใจต่อผู้ที่ด้อยกว่าความสุภาพอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นคุณสมบัติประจำชาติไทยแต่นักการเมืองไทยบางคนมองว่า อำนาจกับความอ่อนน้อมถ่อมตนไปด้วยกันไม่ได้ คนมีอำนาจมักชอบแสดงความกร่าง ใหญ่โตโดยคิดว่านั่นคือการแสดงออกซึ่งอำนาจ แต่คนมีอำนาจจริงๆ แล้วมักจะถ่อมตน ยิ่งมีอำนาจมากยิ่งถ่อมตน ทำให้ประชาชนเกรงใจในบารมีมากขึ้นผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นคนสุภาพเรียบร้อยแบบผ้าพับไว้แต่อย่างน้อยก็ต้องไม่ใช้คำหยาบ หรือไม่สุภาพ กะล่อน ปลิ้นปล้อนโกหก ฯลฯ เพราะจะเป็นแบบอย่างให้เด็กเลียนแบบในทางที่ผิดได้ถ้าผู้นำไม่ต้องการให้เด็กลักขโมย ผู้นำก็ต้องมีความซื่อสัตย์ทั้งต่อตนเองและต่อประเทศชาตินอกจากการเป็น “ผู้นำ” ที่เป็นผู้นำจริงๆ แล้วคนไทยก็อยากเห็นนโยบายที่มุ่งสร้างประโยชน์แก่ชาติมิใช่นโยบาย 100 ชัก 50 อย่างที่เป็นอยู่นโยบายการศึกษา ก็ขอให้เป็นการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างจริงจัง ต้องสอนให้เด็กนอกจากเป็นคนเก่งแล้วต้องมีคุณธรรมด้วยเพื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีและมีคุณธรรมนโยบายด้านวัฒนธรรม เด็กไทยพึงต้องมีขนบธรรมเนียมประเพณีไทยควบคู่กับการรู้จักวัฒนธรรมตะวันตก มิใช่การคลั่งไคล้ไปกับตะวันตกจนลืมรากเหง้าของไทยนโยบายด้านการทหาร เด็กไทยต้องห่างไกลสงครามและใกล้สันติภาพนโยบายด้านเศรษฐกิจ เด็กไทยสามารถเผชิญหน้ากับการแข่งขันระดับโลกได้นโยบายด้านสื่อสารมวลชน การรับรู้ของเด็กไทยเปิดกว้างภายใต้การควบคุมดูแลและสอนให้ใช้วิจารณญาณ เข้าใจได้ด้วยตนเองนโยบายด้านต่างประเทศ เด็กไทยมีความภูมิใจในศักดิ์ศรีชาติและภาคภูมิในตัวเองที่เกิดเป็นคนไทยนโยบายด้านยุติธรรม เด็กไทยเห็นการใช้กฎหมายอย่างยุติธรรมและมีความเท่าเทียมกันทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะในเมือง-นอกเมือง“ผู้นำ” อย่างที่ “หลงอิงถาย” เขียนถึงคงหายาก…และไม่มีบนโลกใบนี้เอ้า!..รัฐบาลมาร์ค หากท่านทำได้อย่างที่ท่านบอกว่าโปร่งใส สมานฉันท์ รักชาติ ประชาชนต้องมาก่อนแค่นี้ก็ลบตำนาน “ผู้นำดี” ไม่มีในโลกได้แล้วจ้า… ■