ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Monday, 7 September 2009

กฎหมายหมิ่นฯ กำลังพิสูจน์จุดยืนของกลุ่มสิทธิมนุษยชน

ที่มา Thai E-News


แปลและเรียบเรียงโดย –คุณแชพเตอร์ ๑๑
ที่มา เวบLiberal Thai
แปลจาก สำนักข่าวISP
7 กันยายน 2552

“นี่เป็นอาชญากรรมทางมโนธรรม อาชญากรรมทางความคิด อาชญากรรมในการพูด ถ้าทั้งองค์กรนิรโทษกรรมสากล และองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนโลก ไม่มีจุดยืนในการป้องกันเหยื่อจากอาชญากรรมดังกล่าวแล้ว งั้นจุดยืนของพวกเขาคืออะไรล่ะ?”-ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ภาควิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ,สหรัฐฯ


กรุงเทพฯ – กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่น่าสะพรึงกลัว ค่อยๆกลายเป็นสนามพิสูจน์จุดยืนในหลักการของกลุ่มสิทธิมนุษยชนนานาชาติอันมีชื่อเสียง

เมื่อไม่นานมานี้ การดำเนินการของกลุ่มต่างๆ เช่น องค์กรนิรโทษกรรมสากล (the Amnesty International -AI) ในอังกฤษ และองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนโลก (Human Rights Watch – HRW) ที่ตั้งอยู่ในนิวยอร์คต่างเลือกที่จะใช้วิธีปฎิบัติคล้ายคลึงกัน นั้นก็คือ พวกเขาเลือกที่ใช้วิธีเงียบต่อสาธารณชน อย่างดีก็แค่แสดงอาการรับรู้ เมื่อมีการบังคับใช้กฎหมายอายุ ๑๐๐ ปี

อีกนานแค่ไหนที่แกนนำคู่แฝดของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนของโลกจะเลิกทำตัวเงียบเชียบแบบนี้ ยิ่งมาเห็นได้ชัดเมื่อมีการตัดสินของศาลไทยเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม ศาลอาญากรุงเทพฯได้ตัดสินจำคุกนักเคลื่อนไหวทางการเมืองถึง ๑๘ ปี จากการปราศัยต่อสาธารณะชน โดยผู้พิพากษานั่งบัลลังค์พิจาณาคดีทั้ง ๓ คน ต่างตัดสินว่า เธอได้หมิ่นราชวงศ์อันเป็นที่เคารพของราชอาณาจักร

ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล อายุ ๔๖ ปี ถูกตัดสินว่ากระทำความผิดตามกฎหมายหมิ่นฯ ๓ กระทง ซึ่งผู้ละเมิดกฎหมายนี้อาจถูกตัดสินจำคุกด้วยโทษสูงสุดถึงกระทงละ ๑๕ ปี ในการทำลายภาพพจน์ของราชวงศ์

หนึ่งในสามของผู้พิพากษาได้กล่าวในระหว่างการอ่านคำพิพากษาว่า “ศาลพบว่า ดารณีตั้งใจที่จะดูหมิ่น และอาฆาตกษัตริย์ และราชินี”

การพิพากษาดารณี หรือเป็นที่รู้จักกันว่า “ดา ตอร์ปิโด” ซึ่งขี้นชื่อว่ามีวาทะอันร้อนแรง ได้ถือว่าเป็นคำตัดสินที่รุนแรงที่สุดในยุคนี้ เป็นการตัดสินต่อจากคดีของชาวไทยอีกคนหนึ่งเมื่อเดือนเมษายนซึ่งโดนจำคุก ๑๐ ปีในข้อหาละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ จากการโพสต์พระฉายาลักษณ์ในอินเตอร์เน็ต

ดารณี ผู้สนับสนุนอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรของไทย ซึ่งถูกทำรัฐประหารปล้นอำนาจในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ดารณีถูกจับในเดือนกรกฎาคม และถูกจับหนึ่งอาทิตย์หลังจากทำการปราศัยในระหว่างการชุมนุมของฝ่ายสนับสนุนทักษิณในกรุงเทพฯ และไม่ได้รับอนุญาตให้มีการประกัน

หลังจากเงียบไปนาน องค์กรนิรโทษกรรมสากลเพิ่งเปิดปากออกมาในเดือนมิถุนายนนี้ เมื่อมีการเริ่มต้นพิจารณาคดีของดารณี องค์กรนริโทษกรรมสากลได้วิจารณ์ศาลที่สั่งให้มีการพิจารณาคดีอย่างปิดลับ ซึ่งผู้พิพากษาอ้างเหตุผลว่า “เป็นมาตราการความมั่นคงของชาติ”

แต่องค์กรนิรโทษกรรมสากลยังคงเลี่ยง ที่จะแสดงความกังวลออกมาในเรื่องที่ว่า กฎหมายนั้นละเมิดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกหรือไม่ ก่อนหน้านี้องค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนโลก ได้ออกแถลงการณ์ แต่เลี่ยงที่จะพูดถึงสิทธิพื้นฐานนี้ด้วยเช่นกัน

นายเบนจามิน ซาแว็คคี นักวิจัยด้านเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์กรนิรโทษกรรมสากล กล่าวว่า “เรารู้สึกว่า การดำเนินงานในภาคเอกชนจะได้ผลมากกว่ากับภาครัฐ ซึ่งจะเป็นหนทางที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพที่สุดในการสนองตอบต่อกฎหมายหมิ่นฯในทุกวันนี้” “เรามีความตระหนัก โดยปราศจากข้อสงสัยในความอ่อนไหวของกฎหมายนี้”

นายเบนจามินให้สัมภาษณ์โดยอธิบายว่า “มีความเสี่ยงในการแข่งขันเพื่อผลประโยชน์ หนึ่งในนั้นก็คือสิทธิเพื่อเสรีภาพในการแสดงออก แต่ที่นี่เรามีสถาบันซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย” “เราจึงเห็นว่า ทำไมสถาบันกษัตริย์จึงต้องได้รับการปกป้อง”

นายเบนจามินซึ่งประจำอยู่ในกรุงเทพฯยอมรับว่า อย่างไรก็ดี กฎหมายนี้ได้ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด “กฎหมายหมิ่นฯ ตามที่ถูกนำไปใช้ในสามปีให้หลังนี้ ได้ถูกใช้เพื่อจำกัดเสรีภาพในการพูด จุดประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อทางการเมือง และไม่ได้ใช้เพื่อปกป้องสถาบันกษัตริย์ ตามที่กฎหมายถูกร่างขี้นมา”

แม้ว่ากลุ่มเพื่อสิทธิของสื่อในภูมิภาคนี้ยอมรับว่า กฎหมายมีนิยามที่คลุมเคลือ นายโรบี อาลัมพาย ผู้อำนวยการพันธมิตรสื่อมวลชนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) ประจำกรุงเทพฯกล่าวว่า “เราต้องรับทราบว่ากฎหมายหมิ่นฯ เป็นกฎหมายที่อ่อนไหวในประเทศไทย” “มีกลุ่มซึ่งมีความระมัดระวัง และมีกลุ่มซึ่งถูกคุกคามจากกฎหมายที่ทั้งขู่และบังคับ แม้กระทั่งผู้รณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนยังถูกคุกคามเหมือนกัน”

ต้องให้โอกาส SEAPA ซึ่งได้แสดงความกล้าหาญบ้างโดยการออกแถลงการณ์เพื่อไว้อาลัยในคดีหมิ่นฯ โดยพยายามที่จะปิดช่องว่างว่า “เราได้เคยพูดว่า โดยทั่วไปแล้วกฎหมายที่เกี่ยวกับการทำลายชื่อเสียงไม่ได้เป็นเรื่องอาญา แม้แต่กฎหมายหมิ่นฯ” นายโรบีกล่าวกับไอพีเอสว่า “นี่เป็นเรื่องที่เราเรียกร้องเสมอ”

ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมผู้นำกลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆ กระอักกระอ่วนที่จะเปิดโปงการนำกฎหมายหมิ่นฯไปใช้อย่างไร ในประเทศที่มีประชาธิปไตยอยู่ในขั้นกำลังพัฒนา เช่นประเทศไทย และกำลังตกเป็นเป้าวิจารณ์อย่างหนัก

นายธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ภาควิชาเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-เมดิสัน ในอเมริกา กล่าวว่า “สำหรับความคิดของผมแล้ว กลุ่มสิทธิมนุษยนสากลต่างๆ รวมทั้ง องค์กรนิรโทษกรรมสากล และ องค์การป้องกันสิทธิมนุษยชน แทบจะไม่ได้ทำอะไรเลย ทำเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ไม่สลักสำคัญ ทั้งไม่มีประสิทธิภาพ และทำอย่างขอไปที” “พวกเขาค่อนข้างเฉยเมยเกี่ยวกับเรื่องของกฎหมายหมิ่นฯในประเทศไทย สาเหตุหลักมาจากกฎระเบียบของพวกเขา”

ดร.ธงชัย เป็นคนไทยซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ได้ก่อตั้ง การรณรงค์สากลเพื่อนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหมิ่นฯ ได้ให้สัมภาษณ์โดยกล่าวว่า “นี่เป็นอาชญากรรมทางมโนธรรม อาชญากรรมทางความคิด อาชญากรรมในการพูด” “ถ้าทั้งองค์กรนิรโทษกรรมสากล และองค์กรเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนโลก ไม่มีจุดยืนในการป้องกันเหยื่อจากอาชญากรรมดังกล่าวแล้ว งั้นจุดยืนของพวกเขาคืออะไรล่ะ”

มีความน่าวิตกเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายหมิ่นฯถูกนำมาบีบบังคับใช้ในประเทศไทยเพิ่มมากขี้น เห็นได้จากยอดร้องเรียนกับตำรวจพุ่งสูงมากขี้น มีมากกว่า ๓๐ คดีที่อยู่ในระหว่างการสืบสวน ในจำนวนคดีทั้งหมดนั้น มีคดีของอดีตโฆษกรัฐบาลฝ่ายทักษิณ นักปรัชญาชาวพุทธที่เป็นที่เคารพ นักวิชาการฝ่ายซ้ายซึ่งหนีออกจากประเทศ และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองซึ่งปฎิเสธที่จะยืนตรงในระหว่างเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนต์

นอกจากนี้ เมื่อไม่นานมานี้กองบังคับการปราบปรามของตำรวจยอมรับกับผู้สื่อข่าวต่างประเทศว่า รัฐมนตรีไอซีทีมีคำสั่งให้สืบสวนเว็บไซต์ประมาณ ๕,๐๐๐ เว็บที่อาจจะละเมิดกฎหมายหมิ่นฯ

ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรีว่าการยุติธรรมได้เปิดเผยว่า ได้จับตามองเว็บไซต์มากกว่า ๑๐,๐๐๐ เว็บ ที่ความเห็นไปในทางที่เชื่อว่าจะดูหมิ่นราชวงศ์ เจ้าหน้าที่ได้รายงานต่ออีกว่า ได้จัดสรรงบประมาณกว่า ๔๒.๒ ล้านบาท เพื่อสร้างอินเตอร์เน็ตไฟร์วอลล์ ในการสะกัดกั้นเว็บไซต์ซึ่งมีเนื้อหาต่อต้านราชวงศ์

ภาษาที่เขียนในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ในฐานะของกษัตริย์ภูมิพล อดุลยเดชแห่งราชอาณาจักรเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นี้ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี พ.ศ.๒๕๕๐ บัญญัติไว้ว่า “องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้”

กษัตริย์พระชนมายุ ๘๑ พรรษา ได้ครองราชย์มานานกว่า ๖๐ ปี

นายเดวิด เสตรคฟัส ผู้เขียน “ราชวงศ์ไทยในสมัยปัจจุบัน กับวัฒนธรรมการเมือง” กล่าวว่า การเมืองลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมไทยเช่นนี้ อาจจะทำให้กลุ่มสิทธิมนุษยชนต่างๆมีท่าทีในการดำเนินมาตราการต่อกฎหมายหมิ่นฯเปลี่ยนไป “องค์กรสิทธิมนุษยชนสากลหลายๆองค์กรดูเหมือนจะยอมรับในความไม่เหมือนใครของไทย และทำการยกเว้นให้ประเทศไทยในเรื่องของกฎหมายหมิ่นฯ”

ผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกาเกี่ยวกับการเมืองไทยได้กล่าวกับไอพีเอสว่า “พวกเขาดูเหมือนจะตกหลุมรักเข้ากับวัฒนธรรมไทยบางอย่าง ซึ่งไม่สามารถแตะต้องได้” “เป็นไปได้ที่ว่า นโยบายของพวกเขาที่ใช้กับประเทศไทยได้เริ่มมานานเกินกว่าทศวรรษ ในสมัยที่กฎหมายหมิ่นฯยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จนเด่นชัดเหมือนในขณะนี้”