ที่มา Thai E-News
แผนที่ปฏิบัติงานของเสรีไทยสายอเมริกาเล็ดลอดเข้าไทย และบริเวณที่2วีรชนเสียสละพลีชีพ
การะเวก ศรีวิจารณ์ ( แครี่ ):เราคนไทยไม่พอใจไม่ว่าชาติใดก็ตามที่เป็นภัยต่อเอกราชของเรา
วีรประวัติ-การะเวก ศรีวิจารณ์ ได้รับพระราชทานยศพันตรีหลังเสียสละชีพเพื่อชาติ ขณะปฏิบัติงานเสรีไทยพร้อมกับสหายศึกอีก2รายคือพันตรีสมพงษ์ ศัลยพงษ์ และพันตรีจำกัด พลางกูร รายนามของทั้ง3ท่านถูกจารึกไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนตราบทุกวันนี้
ชาตะ- 7 สิงหาคม 2461
มรณะ-11 มิถุนายน 2487 ขณะอายุย่าง 26 ปี หากมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันจะมีอายุ 91 ปี
กำเนิด-เกิดที่บ้านพักราชการหลังที่ว่าการอำเภอบางระจัน สิงห์บุรี บุตรนายกลิ่น นางนวม เป็นน้องชายนายฟุ้ง อดีตอธิบดีกรมศาสนา
การศึกษา-ประถมถึงมัธยมต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง
-มัธยมปลาย โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
-โรงเรียนเทฆนิคทหารบกรุ่น2 รุ่นเดียวกันที่มีชีวิตอยู่เป็นนายพล19คน เช่น พล.อ.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ พล.อ.ประลอง วีระปรี
-เดินทางไปเรียนสถาบันMITสหรัฐฯ สำเร็จปริญญาตรีวิศวกรรมโยธาในปี2484 และสำเร็จปริญญาโทวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ในปี2485
การปฏิบัติงานเสรีไทย-หลังจากไทยถูกญี่ปุ่นยึดครองในวันที่8ธันวาคม2484 ในปีรุ่งขึ้นแครี่เข้าเป็นสมาชิกเสรีไทยในอเมริกา ที่ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัคราชทูตไทยประจำสหรัฐฯเป็นหัวหน้าและก่อตั้งเสรีไทยขึ้น เข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยทหารอเมริกันคือO.S.S.นาน9เดือน
-เป็นเสนาธิการของเสรีไทยในอเมริกา โดยยกร่างแผนปฏิบัติการสำหรับเสรีไทยสายอเมริการุ่นที่1 ที่จะเดินทางไปสู่สมรภูมิ
-มีนาคม2486 แครี่ซึ่งอายุย่าง25ปีเดินทางออกจากสหรัฐฯร่วมกับเสรีไทย19นายเพื่อเล็ดลอดสู่มาตุภูมิประเทศไทย ด้วยเรือลิเบอร์ตี้ผ่านคลองปานามาไปมหาสมุทรแปซิฟิก ตัดเข้าตอนใต้ออสเตรเลีย ย้อนขึ้นเหนือผ่านมหาสมุทรอินเดียขึ้นบกที่บอมเบย์ ฐานที่มั่นฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียช่วงกลางเดือนมิถุนายน2486 ใช้เวลาเดินทางรวม 95 วัน ฝึกเพิ่มเติมกับO.S.S.ที่ชายแดนพม่า
-สิงหาคม2486 ย้ายไปจุงกิงนครหลวงของจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และย้ายไปที่คุนหมิง จีนตอนใต้
-มกราคม2487 ฐานปฏิบัติการO.S.S.จัดตั้งที่ซือเหมาตอนใต้ของยูนนาน ใกล้พรมแดนลาว(ซึ่งตอนนั้นหลายเมืองของลาวเป็นอาณาเขตของไทย)และวางแผนส่งเสรีไทย10นายเล็ดลอดเข้าประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญคือนำสารจากรัฐบาลสหรัฐฯไปรับรองขบวนการเสรีไทยในประเทศว่ากำลังต่อสู้เพื่อเอกราช และไทยจะมีรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานยึดครองไทย
-ปลายเดือนกุมภาพันธ์2487 ร.อ.การะเวก และร.ท.สมพงษ์(ยศขณะนั้น)ออกจากซือเหมาเดินทางไปพำนักที่เมืองลา สิบสองปันนาราวเดือนเศษ จากนั้นได้ผู้นำทางชาวจีนไปเมืองพงสาลี ล่องเรือตามลำน้ำโขงถึงเมืองหลวงพระบาง
-10 มิถุนายน 2487 แล้วข้ามโขงเข้าแดนไทยที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอเชียงแมน จังหวัดล้านช้าง(ขณะนั้นเป็นดินแดนของไทยที่ได้คืนจากฝรั่งเศส) มีเป้าหมายจะเดินทางต่อไปที่หนองคาย คนนำทางพาไปพบสารวัตรกำนันในตอนเย็น และกำนันได้ขอยึดปืนไว้ เพราะได้รับคำสั่งจากรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามให้จับกุมจารชน
-11 มิถุนายน 2487 ตำรวจเชียงแมนจับกุมการะเวกและสมพงษ์ข้อหาจารชนและยึดปืนพกไว้ ตามคำสั่งรัฐบาลต้องส่งทั้งสองไปที่กรุงเทพฯ แต่ตำรวจกลับควบคุมตัวเป็นเชลยลอยเรือไปกลางลำน้ำโขง เมื่อเวลาราว15.40น.ส.ต.ท.สมวงษ์ จันทศร และพลตำรวจถึง มูลพิชัย ได้ยิงปืนใส่ทั้งสอง และผู้นำทาง ร.อ.การะเวกกับผู้นำทางเสียชีวิตทันที ส่วนร.ท.ยังไม่ตายร้องขึ้นว่า"ผมเป็นคนไทยแท้ๆผมมาทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรยิงผมเลย"
แต่ตำรวจทั้งสองไม่ปรานีมุ่งค้นสมบัติที่เสรีไทยทั้งสองนำติดตัวมา และเมื่อได้ทองคำที่ทั้งสองได้รับจากO.S.S.มาใช้ในงานกู้ชาติก็โยนร.ท.สมพงษ์ลงน้ำโขง เมื่อว่ายขึ้นมาก็ใช้ไม้ค้ำคอลงไปในลำน้ำ ขณะที่กำลังว่ายหนีไปอยู่ที่แก่งหินกลางน้ำ พลตำรวจถึงยิงใส่ร.ท.สมพงษ์จมหายไปท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว
เรือลำนั้นกลับมาที่สถานีตำรวจเชียงแมนเวลา17.00น.แล้วอ้างว่าจารชนขัดขืนต่อสู้แย่งชิงปืนตำรวจจึงถูกวิสามัญฆาตกรรม จากนั้นยึดปืน,กระสุนปืน,พันธบัตร,ทองคำ,เครื่องรับส่งวิทยุไว้ ศพของ"แครี่"การะเวกกับคนนำทางถูกทิ้งไว้หน้าสถานีตำรวจ จนเย็นวันรุ่งขึ้นจึงนำไปขุดฝังไว้หลังสถานี ส่วนศพของสมพงษ์ไม่มีผู้พบเห็นทำให้ญาติยังฝังใจมาจนทุกวันนี้ว่าเขายังไม่ตายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
-เวลาไล่เลี่ยกันร.อ.โผนเดินทางตามหลังทั้งสองมา2สัปดาห์ และก่อนข้ามโขงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของทั้งสองและแจ้งข่าวไปยังเสรีไทยสายอเมริกาในอีก1เดือนต่อมา ทำให้เสรีไทยในไทยทราบจึงแต่งตั้งข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายตำรวจมายังชายแดนเพื่อคอยช่วยเหลือเสรีไทยให้เล็ดลอดเข้าประเทศได้สำเร็จ
16 สิงหาคม 2488-ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ หลังญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่2 และไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม และไม่ถูกมหาอำนาจผู้ชนะแบ่งแยกเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้
-30ตุลาคม2488 หลังสงครามยุติลงมีการรื้อฟื้นคดีสังหาร2เสรีไทย 2ตำรวจมือสังหารโหดหลบหนีข้ามไปฝั่งลาว มีการขุดศพแครี่กลับสู่มาตุภูมิกรุงเทพฯ
-ค่ำวันที่ 25 กันยายน 2488 ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กล่าวปราศรัยก่อนสลายขบวนการเสรีไทยตอนหนึ่งว่า
"ขอให้ท่านได้สำนึกถึงวีรกรรมของเพื่อนร่วมตาย ซึ่งต้องเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้คือนายจำกัด พลางกูร ,นายการะเวก ศรีวิจารณ์ และนายสมพงศ์ ศัลยพงศ์ ชีวิตเขาสิ้นไปเพื่อได้มาซึ่งเอกราช และความคงอยู่ของชาติไทย ซึ่งชาวไทยไม่ควรลืม"
10 กุมภาพันธ์ 2497-รัฐบาลสหรัฐฯมอบเหรียญ"เมดัล ออฟ ฟรีดอม"ให้แก่เสรีไทยผู้เสียสละชีวิตทั้งสอง
ท่วงท่าบุคคลิกของการะเวก-แครี่เป็นคนร่างเล็กมีน้ำหนักเพียง55กิโลกรัม เป็นคนขรึม กำลังกายปานกลาง และรู้จักชั่งใจ แต่มีความเป็นผู้นำสูง แม้ผู้นำทางการของเสรีไทยสายอเมริกาชุดแรก19คนมีโผน อินทรทัตเป็นผู้นำ แต่เพื่อนทั้งหมดกลับให้ความนับถือแครี่มากที่สุด
อุดมคติเรื่องชาติของแครี่-ร.อ.นิคอล สมิธ นายทหารอเมริกันพี่เลี้ยงเสรีไทยชุดนี้บันทึกการสนทนากับเขาไว้ว่า แครี่เชื่อมั่นว่าคนไทยในประเทศก็เช่นเดียวกับเขาที่ต้องการเอกราชสมบูรณ์
หนังสือเล่มที่กล่าวถึงรายละเอียดคดีตำรวจไทยสังหารเสรีไทยเพื่อหวังชิงทองคำที่นำมากู้ชาติ หน้าปกเป็นรูปของการะเวก
เปิดปฏิบัติการเสรีไทยสายอเมริกา
คณะนักเรียนไทยได้รับการจัดตั้งเป็น "กองทหารเสรีไทย" ซึ่งเป็นหน่วยทหารไทยที่ใช้เครื่องแบบของไทย มีธงไทยเป็นเครื่องหมาย มีฐานะทัดเทียมกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมี ม.ล. ขาบ กุญชร เป็นผู้แทน กองกำลังเสรีไทยสายอเมริกาแบ่งได้เป็นสี่รุ่น คือ
รุ่นแรก มี ม.ล. ขาบ กุญชร ทูตทหาร เป็นหัวหน้าประสานงานร่วมกับ พ.ท. นิคอล สมิธ ผู้เป็นตัวแทนหน่วย O.S.S. คณะนักเรียนไทยชุดแรกจำนวน ๒๑ คนนี้เข้าฝึกการรบพิเศษในวิชาการต่าง ๆ เช่น วิชาแผนที่ วิชาเดินเรือ วิชาสื่อสาร โดยกำหนดหลักสูตรเวลา ๔ เดือน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการในประเทศไทย เป้า ขำอุไร เล่าถึงการฝึกไว้ว่า
"เราเข้าฝึกในค่ายของ U.S. Marrine ซึ่งเป็นค่ายลับอยู่ในป่าใน Maryland หลายแห่งฝึกหนักยิ่งกว่าทหารธรรมดาหลายเท่าในด้านการรบ การใช้อาวุธการต่อสู้ทุกรูปแบบ ในด้านการจารกรรม ก่อวินาศกรรม ฝึกเป็น Jame Bond กันเลย ทำการฝึกหนึ่งปีจนจบหลักสูตร ทางสถานทูตก็ทำการประดับยศให้เป็นร้อยตรีทุกคน... พิธีประดับยศนี้เป็นการประกาศให้อเมริกันทราบว่า เรามิใช่เป็นเสรีไทยแต่ปากเท่านั้น เรามีกำลังรบด้วย"
หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นสองสาย
-สายที่ ๑ นำโดย ม.ล. ขาบ กุญชร และ พ.ต. เคฟแลน นายทหารอเมริกา ได้เดินทางล่วงหน้าไปที่เมืองจุงกิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเจียงไคเช็ค และเป็นที่ตั้งของหน่วย O.S.S. ประจำประเทศจีน เพื่อจัดตั้งหน่วยต่อต้านในประเทศไทย
-สายที่ ๒ ทหารเสรีไทยที่เหลืออีก ๑๙ คน นำโดย พ.ท. นิคอล สมิธ และนายทหาร O.S.S. ๓ นาย เดินทางมายังค่ายฝึก ๑๐๑ ของ O.S.S. ที่ตั้งอยู่ในแคว้นอัสสัมเพื่อฝึกเพิ่มเติม ภารกิจของหน่วยนี้คือการสืบเหตุการณ์ภายในประเทศไทยให้แก่หน่วย O.S.S. ส่งอาวุธและทหารมาช่วยฝึกแบบกองโจร การบ่อนทำลายกองทหารญี่ปุ่น ตลอดจนแลกเปลี่ยนข่าวกรองกับจีนเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่น
รุ่นที่ ๒ มีจำนวน ๓ คน คือบุญมาก เทศะบุตร วิมล วิริยะวิทย์ อานนท์ ศรีวรรธนะ สมัครเข้าฝึกกับหน่วย O.S.S. โดยตรง ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษในประเทศไทย เพื่อหาทางติดต่อกับขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทย วิมล วิริยะวิทย์ เล่าถึงการฝึกว่า
"เพื่อรับภารกิจเร่งด่วน... ผมต้องฝึกการจารกรรมทั้งหมด การฝึกหนักมากเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้เข้าไปเป็นแนวที่ ๕ (Fifth Column) ฝึกการใช้วิทยุรับส่ง... การจู่โจมข้าศึก และป้องกันตัวเองการฝึกเอาตัวรอดหรือให้อยู่รอด สอดแนม สะเดาะกุญแจ โจรกรรม ฯลฯ เป็นการฝึกที่หนักมาก ตื่นแต่เช้าตรู่ จมอยู่ในน้ำทั้งวัน แทบจะไม่รู้สึกว่าแดดร้อน น้ำจืดหรือว่าน้ำเค็ม...ร่างกายและจิตใจแข็งแกร่งขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะออกไปทำภารกิจที่แลกด้วยชีวิตกับความสำเร็จ"
แม้ว่าเสรีไทยสายอเมริกาจะเดินทางถึงจุงกิง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๖ แต่เนื่องจากความไม่มั่นใจซึ่งกันและกันระหว่าง ม.ร.ว. เสนีย์กับ ม.ล. ขาบ ทำให้การปฏิบัติการในประเทศไทยต้องล่าช้าออกไป หลังจากนั้นเสรีไทยสายอเมริกา ได้มาตั้งฐานปฏิบัติการสำหรับส่งทหารเข้าปฏิบัติการ ในประเทศที่เมืองซือเหมา โดยชุดแรกออกเดินทางในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗ ซึ่งประกอบด้วย
"ปอล (โผน อินทรทัต) ซึ่งเป็นผู้อาวุโสอายุกว่าเพื่อนจะเดินทางโดยลำพัง เขาเป็นคนที่ได้รับการศึกษาทางวิชาทหารมากที่สุด เป็นคนผิวคล้ำ สูงขนาดธรรมดา ...หน้าที่ของเขาคือหาทางเดินประจำจากชายแดนอินโดจีนไปอุตรดิตถ์ ศูนย์กลางทางรถไฟในภาคกลางสยาม เขาจะเป็นผู้ติดต่อกับผู้สื่อข่าวอื่น ๆ นำสิ่งของที่ต้องการไปให้ ถือเอกสารสำคัญที่ส่งทางวิทยุไม่ได้
เอียน (การุณ เก่งระดมยิง) เคยอยู่ลำปางหลายปี เคน (เอี่ยน ขัมพานนท์) และเอียนจะไปเข้าทำงานในเขตนี้ สองคนตรงกันข้ามทางจิตต์ เอียนช่างคิดและเป็นนักทฤษฎีแต่เคนเป็นนักปฏิบัติ เอียนเป็นสมาชิกไฟบีตาแคปปา ฝันแต่ในการหาวิธีทำเครื่องวิทยุให้ดีขึ้น และเคนเป็นวิศวกรรมเมคานิกซ์จะทำให้มันใช้ได้"
ในการเดินทาง ทุกคนแต่งตัวเป็นชาวพื้นเมือง มีเครื่องวิทยุขนาดเล็ก ซึ่งดัดแปลงให้สามารถส่งได้ถึง ๕๐๐ ไมล์ติดตัวไปด้วย พร้อมทองคำไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ปรากฏว่าคนนำทางชาวจีน พยายามถ่วงเวลาการเดินทางให้ช้าลง ทำให้ โผน อินทรทัต ต้องรายงานกลับไปยัง ม.ล. ขาบ เพื่อให้ส่งเสรีไทยชุดที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วย "บันนี่ (บุญเย็น ศศิรัตน์) เพา (เป้า ขำอะไร) พีท (พิสุทธ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา) แซม (สวัสดิ์ เชี่ยวสกุล) ปลอมตัวเป็นคนขายของ" เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นชุดต่อไป ทางการจีนจึงไม่สามารถหน่วงเหนี่ยว ไม่ให้เสรีไทยสายอเมริกาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้อีกต่อไป
เนื่องจากเป็นการเดินทางเข้าประเทศไทย เป็นครั้งแรกของเสรีไทยสายอเมริกา โดยที่ยังไม่มีการประสานงานมาก่อน ทำให้คณะของการะเวกและสมพงษ์ ที่มีนายบุญช่วยเป็นผู้นำทาง ถูกตำรวจคุมตัวที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอเชียงแมน จังหวัดล้านช้าง (ซึ่งเป็นของไทยในขณะนั้น) ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๘๗ ระหว่างทางทั้งสามถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิต โดยอ้างว่าบุคคลทั้งสามขัดขืนและต่อสู้เจ้าหน้าที่ แต่จากคำให้การของ โล่ห์ โจ๊ะทอง ซึ่งเป็นนายท้ายเรือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ให้การต่อศาลในเวลาต่อมาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจฆ่าคนทั้งสามเพื่อชิงทรัพย์
แต่การเสียชีวิตของการะเวกและสมพงษ์ไม่สูญเปล่า เพราะการที่ตำรวจได้นำหลักฐานเช่นวิทยุและเอกสารต่าง ๆ รายงานให้ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รับทราบ จึงรู้ว่ามีความพยายามในการติดต่อจากต่างประเทศเข้ามา
ขณะที่อีกสาม คนถูกตำรวจไทยจับเช่นกัน และนำมาคุมตัวไว้ที่กองสันติบาล กรุงเทพฯ ที่นั่นเอง การุณและนายเอียนได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รับทราบ
๙ กันยายน ๒๔๘๗ วิมล วิริยะวิทย์ และ บุญมาก เทศะบุตร เสรีไทยสายอเมริกาที่ไปฝึกรุ่นพิเศษ ได้กระโดดร่มลงกลางป่าอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิมลถูกคุมตัวมาพบ พล.ต.อ. อดุล ภายหลังจากแจ้งภารกิจให้ทราบ ทั้งคู่ได้เดินทางไปพบ ปรีดี พนมยงค์ วิมลแจ้งให้ทราบว่าทางอเมริกา ยินดีให้การสนับสนุนเสรีไทยทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรือในทางการเมือง รวมทั้งรับทราบด้วยว่ามีปฏิบัติการต่อต้านญี่ปุ่น เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
ต่อมาเสรีไทยชุดที่ ๒ ก็ถูกตำรวจไทยจับเช่นกัน แต่ถูกคุมตัวมาไว้ที่กองสันติบาล กรุงเทพฯ และจุดนี้เองที่ทำให้ทหารเสรีไทยสามารถติดต่อวิทยุกลับไปยังซือเหมาได้ เพราะ พล.ต.อ. อดุลให้ความร่วมมือ นิคอล สมิธ ได้กล่าวถึงความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า
0000
*อ้างจากตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ เขียนลงในมติชนในโอกาส 60 ปีวันสันติภาพไทย เมื่อ16 สิงหาคม 2548
**มีรายงานว่าผู้เสียชีวิตในขบวนการเสรีไทยน่าจะมีมากกว่า 3 ท่าน ดังมีรายงานว่า ในตอนแรกเสรีไทยพยายามที่จะก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นนอกประเทศนั้น เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ได้ส่งผู้แทนเดินทางไปสำรวจเส้นทางไปจุงกิง ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเจียงไคเช็ค และฝ่ายสัมพันธมิตร ปรากฏว่าผู้แทนที่ส่งไปสำรวจเส้นทาง ๒ ชุด จำนวน ๑๑ คน เหลือรอดกลับมา ๒ คน เพราะเส้นทางเข้าสู่จุงกิงโดยทางภาคเหนือนั้น เป็นทางทุรกันดารไม่มีใครสามารถผ่านไปได้
*************
สหายศึกเสรีไทย-(จากซ้าย)โผน อินทรทัต-พอล (ชื่อรหัส ไทย รักไทย),จำรัส ฟอลเล็ต-ดิ๊ค และการะเวก ศรีวิจารณ์-แครี่ แครี่เสียสละชีวิตเพื่อชาติระหว่างเล็ดลอดเข้าไทย ถูกตำรวจไทยสังหารพร้อมกับสมพงษ์ ศัลยพงษ์(แซล)เพื่อชิงทองคำที่หน่วยลับของอเมริกาให้ติดตัวนำมากอบกู้ชาติ ส่วนไทย รักไทย(บิดาพล.อ.ไตรรงค์ อินทรทัต)ถูกสังหารหลังเป็นแกนนำขบวนการประชาธิปไตยกุมภาพันธ์2492เพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการทหารประสบความล้มเหลวลง
เรียบเรียงโดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา หนังสือตำนานเสรีไทย โดยดร.วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร และบทความ60ปีเสรีไทย โดยธนาพล อิ๋วสกุล ในนิตยสารสารคดี
14 สิงหาคม 2552
หมายเหตุไทยอีนิวส์:เมื่อ 64 ปีที่แล้วนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขบวนเสรีไทยได้ประกาศสันติภาพเมื่อ 16 สิงหาคม 2488 มีผลสำคัญยิ่งยวดทำให้ไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศแพ้สงครามโลกครั้งที่2 ไม่ต้องถูกยึดครองหรือแบ่งแยกจากมหาอำนาจผู้ชนะสงคราม ซึ่งมีผู้เคยกล่าวไว้ว่าไม่เช่นนั้นไทยก็คงไม่พ้นต้องเสียกรุงครั้งที่3* อันเป็นผลพวงหลักจากเคลื่อนไหวของขบวนการใต้ดินเสรีไทย อย่างไรก็ตามควรต้องจารึกไว้ด้วยว่า มีวีรชนผู้เสียสละชีพเพื่อชาติในขบวนการอย่างน้อยก็ 3 ท่าน** ซึ่งเราขอทยอยนำเสนอเพื่อเชิดชูเกียรติวีรชนของประชาชาติไทย ณ โอกาสวันสันติภาพมาถึงในปีนี้
แผนที่ปฏิบัติงานของเสรีไทยสายอเมริกาเล็ดลอดเข้าไทย และบริเวณที่2วีรชนเสียสละพลีชีพ
การะเวก ศรีวิจารณ์ ( แครี่ ):เราคนไทยไม่พอใจไม่ว่าชาติใดก็ตามที่เป็นภัยต่อเอกราชของเรา
วีรประวัติ-การะเวก ศรีวิจารณ์ ได้รับพระราชทานยศพันตรีหลังเสียสละชีพเพื่อชาติ ขณะปฏิบัติงานเสรีไทยพร้อมกับสหายศึกอีก2รายคือพันตรีสมพงษ์ ศัลยพงษ์ และพันตรีจำกัด พลางกูร รายนามของทั้ง3ท่านถูกจารึกไว้ที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิมาจนตราบทุกวันนี้
ชาตะ- 7 สิงหาคม 2461
มรณะ-11 มิถุนายน 2487 ขณะอายุย่าง 26 ปี หากมีชีวิตอยู่จนถึงปัจจุบันจะมีอายุ 91 ปี
กำเนิด-เกิดที่บ้านพักราชการหลังที่ว่าการอำเภอบางระจัน สิงห์บุรี บุตรนายกลิ่น นางนวม เป็นน้องชายนายฟุ้ง อดีตอธิบดีกรมศาสนา
การศึกษา-ประถมถึงมัธยมต้น ที่โรงเรียนประจำจังหวัดอ่างทอง
-มัธยมปลาย โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์
-โรงเรียนเทฆนิคทหารบกรุ่น2 รุ่นเดียวกันที่มีชีวิตอยู่เป็นนายพล19คน เช่น พล.อ.เฉลิมชัย จารุวัสตร์ พล.อ.ประลอง วีระปรี
-เดินทางไปเรียนสถาบันMITสหรัฐฯ สำเร็จปริญญาตรีวิศวกรรมโยธาในปี2484 และสำเร็จปริญญาโทวิศวกรรมโยธาที่มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ในปี2485
การปฏิบัติงานเสรีไทย-หลังจากไทยถูกญี่ปุ่นยึดครองในวันที่8ธันวาคม2484 ในปีรุ่งขึ้นแครี่เข้าเป็นสมาชิกเสรีไทยในอเมริกา ที่ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เอกอัคราชทูตไทยประจำสหรัฐฯเป็นหัวหน้าและก่อตั้งเสรีไทยขึ้น เข้ารับการฝึกอบรมกับหน่วยทหารอเมริกันคือO.S.S.นาน9เดือน
-เป็นเสนาธิการของเสรีไทยในอเมริกา โดยยกร่างแผนปฏิบัติการสำหรับเสรีไทยสายอเมริการุ่นที่1 ที่จะเดินทางไปสู่สมรภูมิ
-มีนาคม2486 แครี่ซึ่งอายุย่าง25ปีเดินทางออกจากสหรัฐฯร่วมกับเสรีไทย19นายเพื่อเล็ดลอดสู่มาตุภูมิประเทศไทย ด้วยเรือลิเบอร์ตี้ผ่านคลองปานามาไปมหาสมุทรแปซิฟิก ตัดเข้าตอนใต้ออสเตรเลีย ย้อนขึ้นเหนือผ่านมหาสมุทรอินเดียขึ้นบกที่บอมเบย์ ฐานที่มั่นฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียช่วงกลางเดือนมิถุนายน2486 ใช้เวลาเดินทางรวม 95 วัน ฝึกเพิ่มเติมกับO.S.S.ที่ชายแดนพม่า
-สิงหาคม2486 ย้ายไปจุงกิงนครหลวงของจีนคณะชาติ ซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร และย้ายไปที่คุนหมิง จีนตอนใต้
-มกราคม2487 ฐานปฏิบัติการO.S.S.จัดตั้งที่ซือเหมาตอนใต้ของยูนนาน ใกล้พรมแดนลาว(ซึ่งตอนนั้นหลายเมืองของลาวเป็นอาณาเขตของไทย)และวางแผนส่งเสรีไทย10นายเล็ดลอดเข้าประเทศ เพื่อปฏิบัติภารกิจสำคัญคือนำสารจากรัฐบาลสหรัฐฯไปรับรองขบวนการเสรีไทยในประเทศว่ากำลังต่อสู้เพื่อเอกราช และไทยจะมีรัฐบาลพลัดถิ่นเพื่อต่อต้านญี่ปุ่นผู้รุกรานยึดครองไทย
-ปลายเดือนกุมภาพันธ์2487 ร.อ.การะเวก และร.ท.สมพงษ์(ยศขณะนั้น)ออกจากซือเหมาเดินทางไปพำนักที่เมืองลา สิบสองปันนาราวเดือนเศษ จากนั้นได้ผู้นำทางชาวจีนไปเมืองพงสาลี ล่องเรือตามลำน้ำโขงถึงเมืองหลวงพระบาง
-10 มิถุนายน 2487 แล้วข้ามโขงเข้าแดนไทยที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอเชียงแมน จังหวัดล้านช้าง(ขณะนั้นเป็นดินแดนของไทยที่ได้คืนจากฝรั่งเศส) มีเป้าหมายจะเดินทางต่อไปที่หนองคาย คนนำทางพาไปพบสารวัตรกำนันในตอนเย็น และกำนันได้ขอยึดปืนไว้ เพราะได้รับคำสั่งจากรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงครามให้จับกุมจารชน
-11 มิถุนายน 2487 ตำรวจเชียงแมนจับกุมการะเวกและสมพงษ์ข้อหาจารชนและยึดปืนพกไว้ ตามคำสั่งรัฐบาลต้องส่งทั้งสองไปที่กรุงเทพฯ แต่ตำรวจกลับควบคุมตัวเป็นเชลยลอยเรือไปกลางลำน้ำโขง เมื่อเวลาราว15.40น.ส.ต.ท.สมวงษ์ จันทศร และพลตำรวจถึง มูลพิชัย ได้ยิงปืนใส่ทั้งสอง และผู้นำทาง ร.อ.การะเวกกับผู้นำทางเสียชีวิตทันที ส่วนร.ท.ยังไม่ตายร้องขึ้นว่า"ผมเป็นคนไทยแท้ๆผมมาทำงานเพื่อชาติ ไม่ควรยิงผมเลย"
แต่ตำรวจทั้งสองไม่ปรานีมุ่งค้นสมบัติที่เสรีไทยทั้งสองนำติดตัวมา และเมื่อได้ทองคำที่ทั้งสองได้รับจากO.S.S.มาใช้ในงานกู้ชาติก็โยนร.ท.สมพงษ์ลงน้ำโขง เมื่อว่ายขึ้นมาก็ใช้ไม้ค้ำคอลงไปในลำน้ำ ขณะที่กำลังว่ายหนีไปอยู่ที่แก่งหินกลางน้ำ พลตำรวจถึงยิงใส่ร.ท.สมพงษ์จมหายไปท่ามกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว
เรือลำนั้นกลับมาที่สถานีตำรวจเชียงแมนเวลา17.00น.แล้วอ้างว่าจารชนขัดขืนต่อสู้แย่งชิงปืนตำรวจจึงถูกวิสามัญฆาตกรรม จากนั้นยึดปืน,กระสุนปืน,พันธบัตร,ทองคำ,เครื่องรับส่งวิทยุไว้ ศพของ"แครี่"การะเวกกับคนนำทางถูกทิ้งไว้หน้าสถานีตำรวจ จนเย็นวันรุ่งขึ้นจึงนำไปขุดฝังไว้หลังสถานี ส่วนศพของสมพงษ์ไม่มีผู้พบเห็นทำให้ญาติยังฝังใจมาจนทุกวันนี้ว่าเขายังไม่ตายจากเหตุการณ์ครั้งนั้น
-เวลาไล่เลี่ยกันร.อ.โผนเดินทางตามหลังทั้งสองมา2สัปดาห์ และก่อนข้ามโขงได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของทั้งสองและแจ้งข่าวไปยังเสรีไทยสายอเมริกาในอีก1เดือนต่อมา ทำให้เสรีไทยในไทยทราบจึงแต่งตั้งข้าราชการทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายตำรวจมายังชายแดนเพื่อคอยช่วยเหลือเสรีไทยให้เล็ดลอดเข้าประเทศได้สำเร็จ
16 สิงหาคม 2488-ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ และหัวหน้าขวนการเสรีไทยประกาศสันติภาพ หลังญี่ปุ่นยอมแพ้ในสงครามโลกครั้งที่2 และไทยไม่ต้องตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม และไม่ถูกมหาอำนาจผู้ชนะแบ่งแยกเป็นไทยเหนือ-ไทยใต้
-30ตุลาคม2488 หลังสงครามยุติลงมีการรื้อฟื้นคดีสังหาร2เสรีไทย 2ตำรวจมือสังหารโหดหลบหนีข้ามไปฝั่งลาว มีการขุดศพแครี่กลับสู่มาตุภูมิกรุงเทพฯ
-ค่ำวันที่ 25 กันยายน 2488 ปรีดี พนมยงค์ "รูธ"หัวหน้าขบวนการเสรีไทย กล่าวปราศรัยก่อนสลายขบวนการเสรีไทยตอนหนึ่งว่า
"ขอให้ท่านได้สำนึกถึงวีรกรรมของเพื่อนร่วมตาย ซึ่งต้องเสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่ครั้งนี้คือนายจำกัด พลางกูร ,นายการะเวก ศรีวิจารณ์ และนายสมพงศ์ ศัลยพงศ์ ชีวิตเขาสิ้นไปเพื่อได้มาซึ่งเอกราช และความคงอยู่ของชาติไทย ซึ่งชาวไทยไม่ควรลืม"
10 กุมภาพันธ์ 2497-รัฐบาลสหรัฐฯมอบเหรียญ"เมดัล ออฟ ฟรีดอม"ให้แก่เสรีไทยผู้เสียสละชีวิตทั้งสอง
ท่วงท่าบุคคลิกของการะเวก-แครี่เป็นคนร่างเล็กมีน้ำหนักเพียง55กิโลกรัม เป็นคนขรึม กำลังกายปานกลาง และรู้จักชั่งใจ แต่มีความเป็นผู้นำสูง แม้ผู้นำทางการของเสรีไทยสายอเมริกาชุดแรก19คนมีโผน อินทรทัตเป็นผู้นำ แต่เพื่อนทั้งหมดกลับให้ความนับถือแครี่มากที่สุด
อุดมคติเรื่องชาติของแครี่-ร.อ.นิคอล สมิธ นายทหารอเมริกันพี่เลี้ยงเสรีไทยชุดนี้บันทึกการสนทนากับเขาไว้ว่า แครี่เชื่อมั่นว่าคนไทยในประเทศก็เช่นเดียวกับเขาที่ต้องการเอกราชสมบูรณ์
"ไทยเราเป็นเอกราชมากว่า 700 ปี เป็นไปไม่ได้ที่คนไทยจะทนญี่ปุ่นผู้รุกรานยึดครองเราไปได้นาน คนไทยมีสติพอที่จะรู้จักว่า เป็นอิสรชนไม่ได้ตราบใดที่ประเทศถูกยึดครองโดยต่างชาติ เราคนไทยไม่พอใจไม่ว่าชาติใดก็ตามที่เป็นภัยต่อเอกราชของเรา เราไม่ต้องการใครทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส หรืออเมริกาที่จะมาบงการเราให้ทำอะไรหรือไม่ทำอะไร และหากประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ยังใช้วิธีการครอบครองแบบเก่าต่อไปหลังสงครามครั้งนี้.."แครี่เน้นเบาๆ"ผมเกรงว่าต้องนองเลือดแน่ๆ"
หนังสือเล่มที่กล่าวถึงรายละเอียดคดีตำรวจไทยสังหารเสรีไทยเพื่อหวังชิงทองคำที่นำมากู้ชาติ หน้าปกเป็นรูปของการะเวก
เปิดปฏิบัติการเสรีไทยสายอเมริกา
"ปัญญาชนชั้นหนึ่งเท่าที่ O.S.S. เคยมีมา แต่ละคนมีปริญญาเอก ปริญญาโท จากฮาวาร์ด เอ็มไอที และมหาวิทยาลัยชั้นนำอื่น ๆ ในสหรัฐ"-นิคอล สมิธ
คณะนักเรียนไทยได้รับการจัดตั้งเป็น "กองทหารเสรีไทย" ซึ่งเป็นหน่วยทหารไทยที่ใช้เครื่องแบบของไทย มีธงไทยเป็นเครื่องหมาย มีฐานะทัดเทียมกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตร โดยมี ม.ล. ขาบ กุญชร เป็นผู้แทน กองกำลังเสรีไทยสายอเมริกาแบ่งได้เป็นสี่รุ่น คือ
รุ่นแรก มี ม.ล. ขาบ กุญชร ทูตทหาร เป็นหัวหน้าประสานงานร่วมกับ พ.ท. นิคอล สมิธ ผู้เป็นตัวแทนหน่วย O.S.S. คณะนักเรียนไทยชุดแรกจำนวน ๒๑ คนนี้เข้าฝึกการรบพิเศษในวิชาการต่าง ๆ เช่น วิชาแผนที่ วิชาเดินเรือ วิชาสื่อสาร โดยกำหนดหลักสูตรเวลา ๔ เดือน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับปฏิบัติการในประเทศไทย เป้า ขำอุไร เล่าถึงการฝึกไว้ว่า
"เราเข้าฝึกในค่ายของ U.S. Marrine ซึ่งเป็นค่ายลับอยู่ในป่าใน Maryland หลายแห่งฝึกหนักยิ่งกว่าทหารธรรมดาหลายเท่าในด้านการรบ การใช้อาวุธการต่อสู้ทุกรูปแบบ ในด้านการจารกรรม ก่อวินาศกรรม ฝึกเป็น Jame Bond กันเลย ทำการฝึกหนึ่งปีจนจบหลักสูตร ทางสถานทูตก็ทำการประดับยศให้เป็นร้อยตรีทุกคน... พิธีประดับยศนี้เป็นการประกาศให้อเมริกันทราบว่า เรามิใช่เป็นเสรีไทยแต่ปากเท่านั้น เรามีกำลังรบด้วย"
หลังจากนั้นได้แบ่งเป็นสองสาย
-สายที่ ๑ นำโดย ม.ล. ขาบ กุญชร และ พ.ต. เคฟแลน นายทหารอเมริกา ได้เดินทางล่วงหน้าไปที่เมืองจุงกิง ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเจียงไคเช็ค และเป็นที่ตั้งของหน่วย O.S.S. ประจำประเทศจีน เพื่อจัดตั้งหน่วยต่อต้านในประเทศไทย
-สายที่ ๒ ทหารเสรีไทยที่เหลืออีก ๑๙ คน นำโดย พ.ท. นิคอล สมิธ และนายทหาร O.S.S. ๓ นาย เดินทางมายังค่ายฝึก ๑๐๑ ของ O.S.S. ที่ตั้งอยู่ในแคว้นอัสสัมเพื่อฝึกเพิ่มเติม ภารกิจของหน่วยนี้คือการสืบเหตุการณ์ภายในประเทศไทยให้แก่หน่วย O.S.S. ส่งอาวุธและทหารมาช่วยฝึกแบบกองโจร การบ่อนทำลายกองทหารญี่ปุ่น ตลอดจนแลกเปลี่ยนข่าวกรองกับจีนเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของญี่ปุ่น
รุ่นที่ ๒ มีจำนวน ๓ คน คือบุญมาก เทศะบุตร วิมล วิริยะวิทย์ อานนท์ ศรีวรรธนะ สมัครเข้าฝึกกับหน่วย O.S.S. โดยตรง ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษในประเทศไทย เพื่อหาทางติดต่อกับขบวนการต่อต้านญี่ปุ่นในประเทศไทย วิมล วิริยะวิทย์ เล่าถึงการฝึกว่า
"เพื่อรับภารกิจเร่งด่วน... ผมต้องฝึกการจารกรรมทั้งหมด การฝึกหนักมากเพื่อจุดประสงค์ที่จะให้เข้าไปเป็นแนวที่ ๕ (Fifth Column) ฝึกการใช้วิทยุรับส่ง... การจู่โจมข้าศึก และป้องกันตัวเองการฝึกเอาตัวรอดหรือให้อยู่รอด สอดแนม สะเดาะกุญแจ โจรกรรม ฯลฯ เป็นการฝึกที่หนักมาก ตื่นแต่เช้าตรู่ จมอยู่ในน้ำทั้งวัน แทบจะไม่รู้สึกว่าแดดร้อน น้ำจืดหรือว่าน้ำเค็ม...ร่างกายและจิตใจแข็งแกร่งขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่จะออกไปทำภารกิจที่แลกด้วยชีวิตกับความสำเร็จ"
แม้ว่าเสรีไทยสายอเมริกาจะเดินทางถึงจุงกิง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๔๘๖ แต่เนื่องจากความไม่มั่นใจซึ่งกันและกันระหว่าง ม.ร.ว. เสนีย์กับ ม.ล. ขาบ ทำให้การปฏิบัติการในประเทศไทยต้องล่าช้าออกไป หลังจากนั้นเสรีไทยสายอเมริกา ได้มาตั้งฐานปฏิบัติการสำหรับส่งทหารเข้าปฏิบัติการ ในประเทศที่เมืองซือเหมา โดยชุดแรกออกเดินทางในวันที่ ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๗ ซึ่งประกอบด้วย
"ปอล (โผน อินทรทัต) ซึ่งเป็นผู้อาวุโสอายุกว่าเพื่อนจะเดินทางโดยลำพัง เขาเป็นคนที่ได้รับการศึกษาทางวิชาทหารมากที่สุด เป็นคนผิวคล้ำ สูงขนาดธรรมดา ...หน้าที่ของเขาคือหาทางเดินประจำจากชายแดนอินโดจีนไปอุตรดิตถ์ ศูนย์กลางทางรถไฟในภาคกลางสยาม เขาจะเป็นผู้ติดต่อกับผู้สื่อข่าวอื่น ๆ นำสิ่งของที่ต้องการไปให้ ถือเอกสารสำคัญที่ส่งทางวิทยุไม่ได้
แครี่ (การะเวก ศรีวิจารณ์) รู้จักชายแดนตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างดี เขาเป็นคนขรึม กำลังกายปานกลางและรู้จักชั่งใจ พ.อ. ขาบถือว่าเขาเป็นสื่อสารดีที่สุด คู่ของเขา คือ ทาซานแซล (สมพงษ์ ศัลยพงศ์) ขี้โกรธและใจเร็ว ไม่กลัวใครหรือสิ่งใด ทั้งสองทำงานร่วมกันดี แครี่สามารถนำกำลังของแซลให้เป็นประโยชน์
เอียน (การุณ เก่งระดมยิง) เคยอยู่ลำปางหลายปี เคน (เอี่ยน ขัมพานนท์) และเอียนจะไปเข้าทำงานในเขตนี้ สองคนตรงกันข้ามทางจิตต์ เอียนช่างคิดและเป็นนักทฤษฎีแต่เคนเป็นนักปฏิบัติ เอียนเป็นสมาชิกไฟบีตาแคปปา ฝันแต่ในการหาวิธีทำเครื่องวิทยุให้ดีขึ้น และเคนเป็นวิศวกรรมเมคานิกซ์จะทำให้มันใช้ได้"
ในการเดินทาง ทุกคนแต่งตัวเป็นชาวพื้นเมือง มีเครื่องวิทยุขนาดเล็ก ซึ่งดัดแปลงให้สามารถส่งได้ถึง ๕๐๐ ไมล์ติดตัวไปด้วย พร้อมทองคำไว้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่ปรากฏว่าคนนำทางชาวจีน พยายามถ่วงเวลาการเดินทางให้ช้าลง ทำให้ โผน อินทรทัต ต้องรายงานกลับไปยัง ม.ล. ขาบ เพื่อให้ส่งเสรีไทยชุดที่ ๒ ซึ่งประกอบด้วย "บันนี่ (บุญเย็น ศศิรัตน์) เพา (เป้า ขำอะไร) พีท (พิสุทธ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา) แซม (สวัสดิ์ เชี่ยวสกุล) ปลอมตัวเป็นคนขายของ" เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเป็นชุดต่อไป ทางการจีนจึงไม่สามารถหน่วงเหนี่ยว ไม่ให้เสรีไทยสายอเมริกาเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้อีกต่อไป
เนื่องจากเป็นการเดินทางเข้าประเทศไทย เป็นครั้งแรกของเสรีไทยสายอเมริกา โดยที่ยังไม่มีการประสานงานมาก่อน ทำให้คณะของการะเวกและสมพงษ์ ที่มีนายบุญช่วยเป็นผู้นำทาง ถูกตำรวจคุมตัวที่ตำบลบ้านด่าน อำเภอเชียงแมน จังหวัดล้านช้าง (ซึ่งเป็นของไทยในขณะนั้น) ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๘๗ ระหว่างทางทั้งสามถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงเสียชีวิต โดยอ้างว่าบุคคลทั้งสามขัดขืนและต่อสู้เจ้าหน้าที่ แต่จากคำให้การของ โล่ห์ โจ๊ะทอง ซึ่งเป็นนายท้ายเรือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ให้การต่อศาลในเวลาต่อมาว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจฆ่าคนทั้งสามเพื่อชิงทรัพย์
แต่การเสียชีวิตของการะเวกและสมพงษ์ไม่สูญเปล่า เพราะการที่ตำรวจได้นำหลักฐานเช่นวิทยุและเอกสารต่าง ๆ รายงานให้ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รับทราบ จึงรู้ว่ามีความพยายามในการติดต่อจากต่างประเทศเข้ามา
ขณะที่อีกสาม คนถูกตำรวจไทยจับเช่นกัน และนำมาคุมตัวไว้ที่กองสันติบาล กรุงเทพฯ ที่นั่นเอง การุณและนายเอียนได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ พล.ต.อ. อดุล อดุลเดชจรัส รับทราบ
๙ กันยายน ๒๔๘๗ วิมล วิริยะวิทย์ และ บุญมาก เทศะบุตร เสรีไทยสายอเมริกาที่ไปฝึกรุ่นพิเศษ ได้กระโดดร่มลงกลางป่าอำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ วิมลถูกคุมตัวมาพบ พล.ต.อ. อดุล ภายหลังจากแจ้งภารกิจให้ทราบ ทั้งคู่ได้เดินทางไปพบ ปรีดี พนมยงค์ วิมลแจ้งให้ทราบว่าทางอเมริกา ยินดีให้การสนับสนุนเสรีไทยทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะเป็นทางการทหารหรือในทางการเมือง รวมทั้งรับทราบด้วยว่ามีปฏิบัติการต่อต้านญี่ปุ่น เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย
ต่อมาเสรีไทยชุดที่ ๒ ก็ถูกตำรวจไทยจับเช่นกัน แต่ถูกคุมตัวมาไว้ที่กองสันติบาล กรุงเทพฯ และจุดนี้เองที่ทำให้ทหารเสรีไทยสามารถติดต่อวิทยุกลับไปยังซือเหมาได้ เพราะ พล.ต.อ. อดุลให้ความร่วมมือ นิคอล สมิธ ได้กล่าวถึงความสำคัญของเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ว่า
"ภายในหนึ่งชั่วโมง ข่าวถูกส่งต่อไปยังคุนหมิง เดลลี จุงกิง แคนดี และวอชิงตัน อาณาจักรไทยสองแสนสองหมื่นตารางไมล์ ไม่เป็นจุดมืดสำหรับข่าวต่อไปแล้ว ได้มีโคมไฟจุดขึ้นในเมืองหลวงของสยามกว่าห้าร้อยไมล์ไปทางทิศใต้ และเรารู้ว่ามันจะส่องแสงสว่างขึ้นทุกที"
0000
*อ้างจากตวงศักดิ์ ชื่นสินธุ เขียนลงในมติชนในโอกาส 60 ปีวันสันติภาพไทย เมื่อ16 สิงหาคม 2548
**มีรายงานว่าผู้เสียชีวิตในขบวนการเสรีไทยน่าจะมีมากกว่า 3 ท่าน ดังมีรายงานว่า ในตอนแรกเสรีไทยพยายามที่จะก่อตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นนอกประเทศนั้น เจ้าวงศ์ แสนศิริพันธ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแพร่ ได้ส่งผู้แทนเดินทางไปสำรวจเส้นทางไปจุงกิง ประเทศจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลเจียงไคเช็ค และฝ่ายสัมพันธมิตร ปรากฏว่าผู้แทนที่ส่งไปสำรวจเส้นทาง ๒ ชุด จำนวน ๑๑ คน เหลือรอดกลับมา ๒ คน เพราะเส้นทางเข้าสู่จุงกิงโดยทางภาคเหนือนั้น เป็นทางทุรกันดารไม่มีใครสามารถผ่านไปได้
*************
อาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม-วันสันติภาพ-รำลึกวันสันติภาพ ไทยพ้นสถานะประเทศผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2
ปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการและหัวหน้าขบวนการเสรีไทยขณะประกาศแถลงสันติภาพ
รำลึกถึงเหตุการณ์วันที่ 16 สิงหาคม 2488 นายปรีดี พนมยงค์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในขณะนั้น และเป็นหัวหน้าขบวนการเสรีไทยได้ออกประกาศสันติภาพ สาระสำคัญคือประกาศว่า การประกาศสงครามต่อสหรัฐฯ และอังกฤษของรัฐบาลจอมพลป.พิบูลสงคราม เป็นโมฆะไม่ผูกพันกับประชาชนชาวไทย ที่ได้ก่อตั้งขบวนการเสรีไทยต่อต้านญี่ปุ่น และให้สถานะของประเทศกลับไปมีไมตรีอันดีกับ2ประเทศมหาอำนาจเหมือนก่อนประกาศสงคราม และพร้อมจะร่วมมือทุกวิถีทางกับสหประชาชาติในการสถาปนาเสถียรภาพในโลกนี้
ด้วยคำประกาศสันติภาพดังกล่าว ทำให้ไทยไม่ต้องผูกพันกับญี่ปุ่นและรอดพ้นการตกเป็นประเทศผู้แพ้สงคราม มีเอกราชโดยสมบูรณ์ สมควรที่ชาวไทยผู้รักชาติจะได้หวนรำลึกถึงบุญคุณของบรรพชนในคราวนั้น
สถาบันปรีดี พนมยงค์ และโครงการจัดงานครบรอบชาตกาล ๑๑๐ ปี รัฐบุรุษอาวุโสปรีดี พนมยงค์ ขอเชิญร่วมงานรำลึก ๖๔ ปี วันสันติภาพไทย วันอาทิตย์ที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๒ ณ อาคารเสรีไทยอนุสรณ์ สวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม ถนนเสรีไทย ซอย ๕๓ กรุงเทพมหานคร
กำหนดการจัดงาน
เวลา ๘.๐๐ น. ลงทะเบียน / รับหนังสือที่ระลึก
เวลา ๘.๓๐ น. รับประทานอาหารว่าง
เวลา ๙.๐๐ น. พิธีเปิดงานรำลึก ๖๔ ปี วันสันติภาพไทย
เวลา ๙.๓๐ น. อุทัย สุจริตกุล บรรยายเรื่องเสรีไทยกับการประกาศ “วันสันติภาพไทย” ยืนไว้อาลัย
เวลา ๑๐.๐๐ น. พิธีทางศาสนา ๓ ศาสนา (อิสลาม คริสต์ พุทธ)
เวลา ๑๐.๓๐ น. ประกาศสดุดีเสรีไทย และประชาชนทั่วไปที่สนับสนุน และต่อสู้เพื่อ เอกราชและอธิปไตยของชาติ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
เวลา ๑๐.๔๕ น. เสวนาเรื่อง “ความเป็นมาและภารกิจของเสรีไทย โดย สมาคมเตรียมธรรมศาสตร์ - จุฬาอาสาศึก ปี ๒๔๘๘ และ ขบวนการเสรีไทย” วิทยากร พล ต.ดร.สวัสดิ์ ศรลัมภ์ สุวรรณ ดาราวงษ์ ร.ต.ปราโมทย์ สูตะบุตร ปิยะ จักกะพาก
เวลา ๑๑.๔๕ น. รับประทานอาหารกลางวัน
ภาคบ่าย กิจกรรมเยาวชน เพื่อการเรียนรู้เสรีไทย
สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๐๒-๓๗๔-๖๗๐๐ (ในเวลาราชการ) โทร. ๐๒-๓๘๑-๓๘๖๐-๑