ส่งเสริมคนดีให้ได้ปกครองบ้านเมือง

ข่าวจากสื่อ

บทความจากสื่อ

Wednesday, 26 August 2009

‘ข้อกฎหมาย’ ใครคือ...‘บุคคลที่ 3’

ที่มา บางกอกทูเดย์

ถือได้ว่าความผิดพลาดครั้งสำคัญที่เกิดขึ้นในการเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ เป็นบทเรียนที่นอกจากต้องจดจำแล้วยังท้าทายในการแก้ปัญหานี้จากเจ้าตัวที่ทำให้เกิดการผิดพลาดหนนี้ คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการตำรวจแห่งชาติเรื่องที่ควรพิจารณาอย่างยิ่งของสังคมไทยและการเมืองไทยว่า การล่มกลางคันของการเลือกตัวผบ.ตร.คนใหม่ วันนั้น เกิดขึ้นได้อย่างไร?ทั้งๆ ที่ถ้าหากนับตามคะแนนเสียงของ ก.ต.ช.11 คน ที่มีสิทธิ์โหวตลงคะแนนถ้าดูเผินๆ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะได้รับชัยชนะเพราะฝ่ายที่น่าจะโหวตเป็นทางเดียวกันกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ น่าจะมี นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค,ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์, นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล,นายวิชัย ศรีขวัญ, นายถวิล เปลี่ยนศรี และ นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์แต่ผลการลงคะแนนหลังจากมีการทักท้วงว่าน่าจะมีการเสนอชื่อเพิ่ม นอกจาก พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐที่นายอภิสิทธิ์เสนอชื่อเพียงคนเดียวทำให้รู้ได้ชัดเจนว่าคะแนนเสียงที่คิดว่าน่าจะเป็นของฝ่ายตัวเองกลับไม่ใช่ คะแนนที่แปรผัน 2 เสียงทำให้การเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ หยุดลงกลางคันเพราะประธานในที่ประชุม คือ นายอภิสิทธิ์สั่งให้เลื่อนประชุมออกไปโดยไม่มีกำหนดทั้งหมด คือ เรื่องความผิดพลาดของ นายอภิสิทธิ์เวชชาชีวะ ที่เกิดขึ้นเพราะไม่ได้ศึกษาเรื่องนี้ก่อนการประชุม ทั้งข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงพร้อมๆ กันแต่ระหว่าง “ข้อกฎหมาย” กับ “ข้อเท็จจริง”นั้น ถือได้ว่า “ข้อกฎหมาย” นั้นจะศึกษาและพิจารณาง่ายกว่า “ข้อเท็จจริง”และต้องยอมรับว่า “ข้อกฎหมาย” คือ ทางรอดที่ยุติการประชุมกลางคัน ทำให้คนทั่วไปได้เห็นว่า การประชุมก.ต.ช. หนนั้นเกิดล่มหลางคันเพราะฉะนั้น “ข้อเท็จจริง” จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษามากกว่าน่าศึกษาว่าแคนดิเดตที่มีข่าวเปิดเผยก่อนหน้าว่ามี 2 คนระหว่าง พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ กับพล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย หรือจะมีตัวเลือกอีก 1 คนคือ พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรีนั่นคือข้อเท็จจริงที่นายอภิสิทธิ์ต้องศึกษาต่อไปถึงรายละเอียด ทั้ง “ข้อเท็จจริง” และที่มาของแคนดิเดตทั้งหมดผมเชื่อว่า “ข้อกฎหมาย” นั้น คนในพรรคประชาธิปัตย์คงศึกษาอย่างละเอียดแล้วว่า ทางออกของ “ข้อกฎหมาย” ที่จะประชุม ก.ต.ช. หนต่อไปควรทำอย่างไรนายอภิสิทธิ์ค่อนข้างเชื่อถือและมั่นใจได้แต่ “ข้อเท็จจริง” น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันสำหรับกรณีนี้ แม้จะไม่ได้อยู่ใน พ.ร.บ.ตำรวจ พ.ศ.2547ก็ตามเพราะทางออกของเรื่องนี้อยู่ที่ทั้ง “ข้อกฎหมาย”และ “ข้อเท็จจริง” รวมกันเพราะนี่คือสังคมไทยและการเมืองประเทศไทยครับพูดได้แค่นี้แหละครับ ■